ปลาดุก เป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ด มีรูปร่างเรียวยาว ผิวหนังจะลื่นๆ จัดอยู่ในสกุล Clarias อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วประเทศ มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและเขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คนส่วนใหญ่จะรู้จักกันดี เนื่องจากปลาได้รับความนิยมในการบริโภคเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในทีวีปเอเชีย
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ “ปลาดุก”
ปลาดุกหรือปลาเศรษฐกิจที่ชาวไทยส่วนใหญ่นิยมเลี้ยง เพราะเป็นปลาที่ค่อนข้างเลี้ยงง่าย กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ มีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ในไทยจะพบปลาดุก ตามคลอง หนอง บึง หรือทั่วทุกภาคที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป
สายพันธุ์ของ ปลาดุก ที่เลี้ยงในไทย
ในประเทศไทยปลาดุกที่นิยมเลี้ยง จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 สายพันธุ์ ได้แก่อะไรบ้าง
- ปลาดุกอุย : หรือปลาดุกนา ปลาที่มีรสชาติอร่อย เนื้อไม่เละ สีของผิวหนังค่อนข้างเหลือง ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีมาก มีการเจริญเติบโต แต่มีน้ำหนักตัวที่น้อย
- ปลาดุกเทศ : ปลาที่มีขนาดใหญ่สุดในสกุล Clarias มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ปลาดุกรัสเซีย ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 1.70 เมตร เป็นปลาพื้นเมืองของทวีปแอฟริกา รสชาติของเนื้อไม่ค่อยอร่อย เนื้อจะมีสีขาวค่อนข้างเละ
- ปลาดุกบิ๊กอุย : คือปลาลูกผสม ที่กรมประมงได้นำมาทดลองผสมข้ามพันธุ์ ระหว่างพ่อพันธุ์ปลาดุกเทศ กับ แม่พันธุ์ปลาดุกอุย มีการเจริญเติบโตเร็วที่สุด เนื้อมีรสชาติดี มีการส่งเสริมแพร่วิธีการขยายพันธุ์เพื่อการเลี้ยงดูสู่เกษตรกรได้อย่างกว้างขวาง จนปัจจุบันเป็นปลาที่ได้รับความนิยมสูง
- ปลาดุกด้าน : ปลาที่ถูกพัฒนาให้มีความสวยงาม มีสีสันลวดลายแตกต่างไปจากเดิม โดยเฉพาะมีลักษณะของสีเผือก ขนาดเมื่อโตเต็มที่ จะอยู่ที่ประมาณ 50 เซนติเมตร
- ปลาดุกลำพัน : จะมีลักษณะสีของลำตัวค่อนข้างดำ สีจะเปลี่ยนไปตามอายุ ขนาดลำตัว รวมไปถึงสภาพแวดล้อม ถ้าโตเต็มวัยจะมีสีเข้ม แต่ถ้านำมาเลี้ยงในบ่อจะมีสีน้ำตาลเหลือง เนื้อปลามีรสชาติอร่อยและหวาน มักจะพบในเขตบริเวณปลาพรุ
หากคุณมีความสนใจที่อยากจะเลี้ยงปลาดุก สามารถเลือกสายพันธุ์ที่ต้องการได้ โดยแต่ละสายพันธุ์ก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับตัวผู้เลี้ยงว่าชอบแบบไหน เลี้ยงเพื่อจุดประสงค์ในด้านใดเป็นหลัก [1]
นิสัยและรูปร่างหน้าตาของเจ้าปลาดุก
- ลักษณะภายนอก จะไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว มีหัวที่แบนแข็ง มีครีบตรงท้อง, หลัง, ก้น, หน้าอก และหาง มีหนวด 4 คู่อยู่ที่ริมฝีปาก โดยจะใช้หนวดในการหาอาหารกิน เพราะว่าตรงหนวดจะมีประสาทรับความรู้สึกที่ดีกว่าตา ลำตัวจะมีสีน้ำตาลเข้ม สีเทา และดำคล้ำขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่พบเห็น
- นิสัยของปลา จะมีนิสัยที่ค่อนข้างตกใจง่าย ปราดเปรียว เคลื่อนที่ได้ว่องไว ชอบว่ายน้ำดำผุดไม่ชอบอยู่นิ่ง แถมยังชอบซอกแซกไปตามพื้นโคลน จะหากินตามหน้าดิน รวมไปถึงซากสัตว์จำพวกเศษเนื้อที่กำลังจะสลายตัว สามารถขึ้นมาอยู่บนบกได้ ทนกว่าปลาชนิดอื่นๆ อาศัยอยู่ในดิน โคลน หรือในน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้นาน เนื่องจากมีอวัยวะเพศพิเศษที่ช่วยในการหายใจ
แนวทางและขั้นตอนการเลี้ยง ปลาดุก ที่ถูกต้อง
การเลี้ยงปลาดุก จะต้องมีความรู้พื้นฐาน ศึกษาข้อมูลให้ดี เนื่องจากปลาสามารถเลี้ยงได้หลายรูปแบบ เช่น การเลี้ยงในบ่อดิน, บ่อซีเมนต์, ในกระชัง และในบ่อพลาสติกเป็นต้น โดยส่วนมากชาวเกษตรกรจะนิยมเลี้ยงปลาในบ่อดิน เพราะช่วยลดต้นทุน อีกทั้งปลายังเจริญเติบโตเร็ว มีอัตราการรอดสูง ยกตัวอย่างเช่น
การเตรียมบ่อดินในการเลี้ยง ปลาดุก
- บ่อใหม่ : หว่านปูนขาวให้ทั่วบ่อ ปริมาณ 80-120 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ ตากทิ้งไว้ 2-3 วัน ตากบ่อทิ้งไว้ 2-3 วัน
- บ่อเก่า : ทำความสะอาด โดยการลอกเลน กำจัดวัชพืชรอบๆให้หมด รวมทั้งกำจัดศัตรูปลา ด้วยการใช้โล่ติ๊นหรือกากชา ผสมน้ำสาดให้ทั่ว แล้วโรยปูนขาว 80-120 กิโลกรัม จากนั้นตากทิ้งไว้ 2-3 วัน
- การใส่ปุ๋ยเพื่อสร้างอาหารธรรมชาติ : จะแบกออกเป็น 3 ปุ๋ย คือ ปุ๋ยคอก 150-200 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เช่น ปุ๋ยนา 4-5 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ และปุ๋ยยูเรีย อยู่ที่ 2.5 กิโลกรัม
- ปล่อยน้ำเข้าบ่อ : ให้น้ำเข้า 30-50 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 5-7 วัน เมื่อน้ำเริ่มเขียวแล้วให้เพิ่มระดับความลึกประมาณ 1.0-1.5 เมตร หลังจากนั้นเมื่อครบ 3-5 วันก็นำลูกปลาลงปล่อย
ขั้นตอนในการเลี้ยง ปลาดุก
ปลาดุกนอกจากจะเลี้ยงง่ายแล้ว เป็นปลาอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่ปัจจุบันชาวเกษตรส่วนใหญ่หันมาเลี้ยงเพื่อสร้างเป็นรายได้ ซึ่งก่อนจะเลี้ยงปลาก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายๆด้าน รวมทั้งควรมีการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและความเหมาะสมของสถานที่ด้วย
- การเตรียมพันธุ์ปลา : อันดับแรกควรเลือกลูกปลาที่มาจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ สังเกตปลาที่มีความแข็งแรง ลำตัว หนวด ครีบ หาง สมบูรณ์ ไม่ว่ายน้ำหงายท้อง
- อัตราการปล่อย : ลูกปลาที่ขนาด 2-3 เซนติเมตร ควรปล่อยในอัตรา 50-100 ตัว ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการเลี้ยง ชนิดของอาหาร ขนาดของบบ่อและระบบการเปลี่ยนถ่ายน้ำ
- การปล่อยปลาลงบ่อเลี้ยง : ก่อนการปล่องลงสู้บ่อควรเอาถุงแช่ไว้สัก 10-15 นาทีก่อน เพื่อปรับอุณหภูมิให้เท่ากัน ปลาควรมีขนาดเท่ากับนิ้วมือ ช่วยเพิ่มอัตราการอดตายให้สูงมากขึ้น การปล่อยปลาช่วงเย็นจะดีที่สุด เนื่องจากอากาศไม่ค่อยร้อน ปลาจะปรับตัวได้ดี
- การให้อาหาร : ปลาที่เข้าสู่วันแรก ยังไม่ต้องให้อาหาร วันต่อมาค่อยให้เป็นอาหารลูกปลาอ่อน โดยให้ประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่อลูกปลาโตแล้วให้กินอาหารเม็ด ได้เริ่มให้อาหารเล็กพิเศษ จนอายุครบ 1 เดือน โดยให้ทานวันละ 2 เวลา คือ ช่วงเช้ากับเย็น ถ้าอายุครบ 2 เดือน จึงให้อาหารปลาดุกใหญ่
- วิธีการให้อาหารปลา : ให้อาหารปลาให้เป็นเวลา ตำแหน่งควรเป็นสถานที่เดิม มีแป้นหรือภาชนะรองรับ ควรมีการให้สัญญาณ เช่น การใช้มือตีน้ำให้กระเทือน ปรับปริมาณในทุกๆ 1-2 สัปดาห์
- การถ่ายเทน้ำ : ควรเริ่มถ่ายตั้งแต่ 1 เดือน โดยประมาณ 20% ของน้ำในบ่อ 3 วันต่อ 1 ครั้ง หรือสังเกตถ้าน้ำเริ่มเสียจะต้องเปลี่ยนน้ำ [2]
สรุป การเลี้ยง ปลาดุก นอกจากจะบริโภคเนื้อแล้วยังสามารถสร้างรายได้
นอกจาก ปลาดุก จะได้รับความนิยมในการรับประทานแล้ว ยังสามารถทำอาหารได้อีกหลายเมนู เลี้ยงง่าย มีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ทนต่อสภาพแวดล้อมและอากาศได้ดี จึงทำให้ในปัจจุบันชาวเกษตรกรหันมาเลี้ยงปลาดุกกันอย่างกว้างขวาง เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการสร้างรายได้ที่มีความมั่นคง
อ้างอิง
[1] grobest. (2024). สายพันธุ์ปลาดุกในประเทศไทยที่นิยมเพาะเลี้ยง. Retrieved from grobest
[2] fisheries (2024). เรียนรู้เรื่องปลาดุก. Retrieved from fisheries