ลิเลียนสเตอนัส ไดโนเสาร์กินเนื้อ จากพื้นที่ชุ่มน้ำในยุโรปตะวันตก (ประเทศเยอรมนี) พวกมันดำรงชีวิตอยู่ในยุคไทรแอสซิก เมื่อประมาณ 210 ล้านปีก่อน ถือเป็นไดโนเสาร์ที่พบจากยุโรป ที่ได้รับการศึกษา และระบุชนิดได้อย่างชัดเจน เราจะพาคุณไปทำความรู้จัก ไดโนเสาร์ยุคบุกเบิก ก่อนที่พวกมันจะสูญพันธุ์ไปจากโลก
ลิเลียนสเตอนัส (Liliensternus) เป็นหนึ่งในสายพันธุ์กินเนื้อชนิดหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย เมื่อประมาณ 210 ล้านปีก่อน ซึ่งชื่อของมัน มาจากนักบรรพชีวินวิทยาชาวเยอรมนี ฮิวโก้ รูห์เล เขาได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ชิ้นแรกในปี 1934 ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีชื่อสายพันธุ์เฉพาะว่า Liliensternus liliensterni
มันถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเทอโรพอดขนาดกลาง มีความยาวประมาณ 5 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 300 กิโลกรัม พวกมันเป็นนักล่าที่เดินด้วย 2 ขา กินเนื้อเป็นอาหาร ฟันและกรงเล็บแหลมคม เหมาะสำหรับการล่าเหยื่อขนาดเล็ก หรือสัตว์กินพืชขนาดปานกลาง และถูกจัดให้เป็นไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอดยุคบุกเบิก
Liliensternus พวกมันยังมีกลุ่มไดโนเสาร์เทอโรพอด ที่เป็นญาติใกล้ชิด และยังเป็นไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ อัลโลซอรัส และเจ้ากิ้งก่านักล่า ทีเร็กซ์ การค้นพบซากฟอสซิลของพวกมัน เป็นหนึ่งในข้อมูลที่สำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการ และความหลากหลายของไดโนเสาร์นักล่า ที่ดำรงชีวิตในยุคไทรแอสซิก [1]
ตัวอย่างโฮโลไทป์ของไดโนเสาร์ตัวนี้ ถูกพบในชั้นหิน Trossingen ในทูรินเจีย ประเทศเยอรมนี ถูกพบร่วมกับซากฟอสซิลของ Ruehleia เป็นสกุลของไดโนเสาร์ซอโรโปโดมอร์ฟ ถูกพบในช่วงฤดูหนาวของปี 1932-1933 ในชั้นหินโคลนที่มีปูนขาวเป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าอยู่ในช่วงโนเรียนของยุคไทรแอสซิก
มีการพบกระดูกฝ่าเท้าซ้าย ซึ่งต่อมาถูกกำหนดให้เป็นชื่อตระกูล ฟอสซิลนี้ถูกเก็บรวบรวมในปี 1834 บริเวณหินทรายของชั้นหิน Trossingen ในเมืองบาเยิร์น กระดูกฝ่าเท้าได้รับการอธิบายในตอนแรก ว่าเป็นองค์ประกอบของมือหรือเท้า โดย Meyer และ Huene ต่อมาได้รับการระบุใหม่ว่าเป็นกระดูกฝ่าเท้าส่วนต้น
การค้นพบฟัน ที่ถูกทับถมในชั้นหิน Norian ถูกเก็บรวบรวมในปี 1913 ในหินโคลนสีแดง บริเวณพื้นที่ของเมือง Baden-Württemberg วัสดุชิ้นเดียวที่จัดอยู่ในกลุ่มชั้นหิน ภายหลังที่มีการค้นพบ สำหรับตัวอย่างของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ถูกย้ายไปที่คอลเลกชันของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งเบอร์ลิน [2]
รายละเอียดเพิ่มเติม
ที่มา: General Statistics [3]
สำหรับเจ้านักล่าชนิดนี้ ถูกจัดให้เป็นสัตว์กินเนื้อเดินสองขา พวกมันมีความกระตือรือร้น และตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจมีการล่าสัตว์กินพืชขนาดใหญ่กว่า เช่น พลาเทโอซอรัส ไดโนเสาร์กินพืชที่พบในสภาพแวดล้อมโบราณ จากตัวอย่างที่บในสวิตเซอร์แลนด์ ซัคเซิน-อันฮัลท์ และประเทศเยอรมนี
แสดงให้เห็นว่าไดโนเสาร์ Liliensternus อาศัยอยู่ในที่ราบลุ่ม หรือบริเวณพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง ซึ่งในยุคโบราณ สภาพแวดล้อมอุดมไปด้วยสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์กินเนื้อ และพลาเทโอซอรัส โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่า ไดโนเสาร์นักล่าชนิดนี้ อาจใช้ฟันที่แหลมคม เพื่อล่าเหยื่อประเภทกินพืช และใช้ความเร็วเพื่อจับเหยื่อ [4]
ลิเลียนสเตอนัส เป็นไดโนเสาร์ประเภทนีโอเทอโรพอด ดำรงชีวิตเมื่อประมาณ 228-201 ล้านปีก่อน ในยุคไทรแอสซิก พวกมันเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดกลาง ที่มีการพบซากฟอสซิลมากที่สุดในโซนยุโรป เราจะพาไปดูลักษณะรูปร่างที่โดดเด่น รวมถึงสาเหตุที่ทำให้พวกมันสูญพันธุ์ไปจากโลก มีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้
พวกมันเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดกลาง และเป็นไดโนเสาร์ที่พบมากที่สุดในยุโรป สำหรับขนาดร่างกายของพวกมัน คาดว่าเมื่อพวกมันโต จะมีขนาดยาวถึง 5.15 เมตร และหนักประมาณ 200 กิโลกรัม กระดูกต้นขามีความยาวประมาณ 440 มิลลิเมตร ซึ่งยาวกว่ากระดูกแข้ง ส่วนกระดูกสะโพกมีลักษณะสั้นผิดปกติ
จากตัวอย่างสะโพกที่สั้นผิดปกติ ซึ่งเหมือนกับไดโนเสาร์ ไดโลโฟซอรัส ตัวอย่างนี้มาจากกระดูกสันหลังกระเบนเหน็บ ที่เชื่อมติดกันเพียง 2 ชิ้น และมองเห็นรอยต่อบนกระดูกสันหลัง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าฟอสซิลเหล่านี้ อาจเป็นไดโนเสาร์อายุน้อย หรืออายุน้อยกว่าไดโนเสาร์ที่โตเต็มวัย
ลักษณะทางกายภาพที่โดดเด่น
ที่มา: Distinct Physical Features and Anatomy [5]
ลิเลียนสเตอนัสถือเป็นสายพันธุ์นักล่ายุคแรก ที่มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ ในยุคไทรแอสซิก ถึงแม้ว่าพวกมันจะสูญพันธุ์ไปจากโลก แต่การค้นพบหลักฐานซากฟอสซิล ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ ได้เข้าใจวิวัฒนาการของไดโนเสาร์เทอโรพอด และบทบาทการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมในประวัติศาสตร์
[1] DINOSAUR ENCYCLOPEDIA. (February 15, 2023). Liliensternus Facts. Retrieved from dinosaurencyclopedia
[2] WIKIPEDIA. (July 3, 2024). Discovery. Retrieved from en.wikipedia
[3] Dinosaur King Wiki. (2024). General Statistics. Retrieved from dinosaurking.fandom
[4] DINOPEDIA. (2024). Paleoecology. Retrieved from dinopedia.fandom
[5] DINOSAURFACTS. (2024). Distinct Physical Features and Anatomy. Retrieved from dinosaurfact