ไดโนเสาร์กินพืช สายพันธุ์สัตว์ดึกดำบรรพ์แห่งโลกล้านปี ที่มีนิสัยรักสงบ ดำรงชีวิตด้วยการกินพืชเป็นอาหารหลัก และบางชนิดอาจมีลักษณะทางกายภาพที่เด่นชัด มีอาวุธสำหรับการป้องกันตัวเองจากนักล่า เราจะพาคุณไปทำความรู้จัก จุดเริ่มต้นของสัตว์ดึกดำบรรพ์ และการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ชนิดนี้ในประเทศไทย
ไดโนเสาร์กินพืช หรือไดโนเสาร์ พวกมันถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตในยุคดึกดำบรรพ์ สายพันธุ์สัตว์เลื้อยคลาน ที่แบ่งออกเป็นสัตว์กินพืช และสัตว์กินเนื้อ ซึ่งปรากฏขึ้นในครั้งแรกของยุคไทรแอสซิก เมื่อประมาณ 243 ล้านปีก่อน แม้ว่าจะยังคงเป็นข้อมูลที่ไม่แน่ชัด เกี่ยวกับข้อมูลต้นกำเนิด หรือข้อมูลวิวัฒนาการของไดโนเสาร์
พวกมันถูกจัดให้เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง หลังจากเหตุการณ์สูญพันธุ์ของยุคไทรแอสซิก ก็ได้มีการขยายอำนาจมาจนถึงยุคจูราสสิค และยุคครีเทเชียส จากบันทึกฟอสซิล แสดงให้เห็นว่านก ก็ถือว่าเป็นสายพันธุ์ไดโนเสาร์ที่มีขน อาจวิวัฒนาการมาจากเทอโรพอดในยุคก่อนๆ ถึงแม้ว่าไดโนเสาร์ที่มีขน อาจสูญพันธุ์ไปเมื่อหลายล้านปี
ฟอสซิลไดโนเสาร์ชิ้นแรก ได้รับการค้นพบและการยอมรับ ในช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งคำว่าไดโนเสาร์หมายความว่า “กิ้งก่าที่น่ากลัว” ถูกคิดค้นชื่อโดย เซอร์ริชาร์ด โอเวน ในปี 1842 เพื่ออ้างอิงฟอสซิลกิ้งก่าขนาดใหญ่ นับจากนั้นเป็นต้นมา ฟอสซิลได้ถูกนำไปแสดงในพิพิธภัณฑ์ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมสมัยนิยม [1]
ไดโนเสาร์ หรือ ไดโนเสาร์กินพืช ถือกำเนิดบนโลกเมื่อประมาณ 230 ล้านปี หลังจากการสูญสิ้นของยุคเพอร์เมี่ยน 20 ล้านปี ในช่วงเวลานั้นสัตว์โบราณล้มตาย เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และถูกแทนที่ด้วยสายพันธุ์สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ได้แก่ จระเข้ และได้วิวัฒนาการกลายเป็นไดโนเสาร์
แผ่นดินบนโลก ถูกปกครองตั้งแต่ยุคไทนแอสซิก ยุคจูราสสิค และสิ้นสุดในยุคครีเทเชียส ถึงแม้ว่าสายพันธุ์ไดโนเสาร์นั้น จะสูญพันธุ์ไปนานกว่า 70 ล้านปี มนุษย์ก็สามารถขุดพบฟอสซิล และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ และได้มีการปะติดปะต่อประวัติศาสตร์ของสัตว์โลกยุคดึกดำบรรพ์กลุ่มนี้ขึ้นมาได้
นักโบราณคดีหลายท่าน และหลายประเทศ มักค้นคว้าต้นตอสายพันธุ์ไดโนเสาร์ มีการขุดหาซากของกิ้งก่ายักษ์ และกลายเป็นที่นิยมมากขึ้นในประเทศอเมริกา และยุโรป นับตั้งแต่ปี 1822 จนมาถึงปัจจุบัน ก็ได้มีการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ และได้ทำการตั้งชื่อไปแล้วมากกว่า 1,000 ชนิด และยังคงค้นคว้าชนิดใหม่อยู่เรื่อยๆ [2]
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 สำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 1 ได้เข้าทำการตรวจสอบร่องรอย ซึ่งคาดว่าคล้ายรอยเท้าสัตว์ดึกดำบรรพ์ ไดโนเสาร์กินพืช ในพื้นที่บ้านดงมะไฟ ตำบลโคกมน อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ จากผลการสำรวจ และการเข้าตรวจสอบพื้นที่ลานหินขนาดใหญ่ แสดงลักษณะการย่างก้าวอย่างชัดเจน
ซึ่งระยะห่างช่วงก้าว มีขนาดใกล้เคียงกันทุกก้าว และขนาดของรอยเท้ามีความยาวเฉลี่ยกัน ถูกจัดอยู่ในหมวดหินห้อย กลุ่มหินโคราช ช่วงยุคไทรแอสซิกตอนปลาย หรือประมาณ 225 ล้านปี จากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญรอยเท้าดึกดำบรรพ์ ยืนยันว่าเป็นรอยเท้าของสัตว์ดึกดำบรรพ์ ที่อยู่ในกลุ่มซอโรพอด หรือกลุ่มไดโนเสาร์คอยาว
สำหรับซากดึกดำบรรพ์ ประเภทรอยชีวิน อย่างเช่นรอยเท้า ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว อีกทั้งยังอธิบายพฤติกรรมส่วนตัว ได้แก่ จังหวะการเดิน ระยะห่าง และลักษณะการเดินทางรอยลาก หรือการยกหาง แม้กระทั่งบอกรายละเอียดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ในอดีต [3]
หลังจากที่คุณ ได้ทำการศึกษาประวัติต้นกำเนิด และจุดสิ้นสุดของยุคสัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์ การมีอยู่ของ ไดโนเสาร์กินพืช และไดโนเสาร์นักล่าในอดีต ในส่วนถัดไป ทางเราจะพาทุกท่าน ไปรู้จักการแบ่งประเภทของไดโนเสาร์ที่รักสงบ และยกตัวอย่างรายชื่อไดโนเสาร์ เพื่อช่วยให้เข้าใจความหลากหลายของสัตว์ชนิดนี้
สำหรับกลุ่มไดโนเสาร์รักสงบ ไดโนเสาร์กินพืช ถือว่าพวกมันเป็นกลุ่มที่มีการปรับตัว บางชนิดสามารถวิวัฒนาการร่างกายของตัวเอง ให้สามารถอยู่รอดหรือป้องกันอันตรายจากนักล่าได้ อีกทั้งบางชนิดยังมีจุดเด่นที่น่าสนใจ เช่น เขาแหลมที่งอกออกมา หรือจะเป็นหางที่คล้ายลูกตุ้ม ซึ่งเป็นอาวุธสำหรับป้องกันตัวเอง
[1] วิกิพีเดีย. (November 18, 2024). ไดโนเสาร์. Retrieved from th.wikipedia
[2] NONGNOOCH WONDER WORLD. (2024). กำเนิดไดโนเสาร์. Retrieved from nongnoochpattaya
[3] Thai PBS. (May 6, 2023). พบรอยตีนไดโนเสาร์กินพืชอายุ 225 ล้านปี. Retrieved from thaipbs