line-pg168

พาไปรู้จัก ไททันโนซอรัส เจ้ากิ้งก่ายักษ์คอยาว ร่างกายมหึมา

ธันวาคม 14, 2024
ไททันโนซอรัส

ไททันโนซอรัส มารู้จักเจ้ากิ้งก่าคอยาวลำตัวมหึมา มันถูกจัดอยู่ในประเภทไดโนเสาร์กินพืช กลุ่มซอโรพอด อาศัยอยู่ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส ซากฟอสซิลส่วนใหญ่ มักถูกพบในทวีปยุโรป และทวีปอเมริกาใต้มารู้จักประวัติการค้นพบ ลักษณะทางกายภาพ และพฤติกรรมการดำรงชีวิต มีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

ไททันโนซอรัส มีการค้นพบซากฟอสซิลครั้งแรกตั้งแต่เมื่อไหร่?

ไททันโนซอรัส (Titanosaurus)หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์ที่มีรูปร่างโดดเด่น จากตระกูลไททาโนซอร์ พวกมันเป็นสายพันธุ์ซอโรพอดชนิดสุดท้าย ที่ดำรงชีวิตอยู่บนโลก ก่อนที่จะเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ เมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน สิ่งที่ทำให้มันเป็นที่จดจำมากที่สุด ก็คือการขุดพบซากฟอสซิลที่มีจำนวนจำกัด

โดยซากฟอสซิลถูกค้นพบตั้งแต่ช่วงก่อนประวัติศาสตร์ โดยนักบรรพชีวินวิทยา ริชาร์ด ไลเดกเกอร์ เขาได้ระบุตัวตนของไดโนเสาร์ชนิดนี้ในปี 1877 จากหลักฐานกระดูก ที่กระจัดกระจายในพื้นที่ของประเทศอินเดีย ซึ่งปกติแล้วพื้นที่แห่งนี้ ไม่ใช่แหล่งที่มีการขุดพบซากฟอสซิลของไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้

ไม่นานมานี้ หลักฐานการค้นพบซากฟอสซิลของพวกมัน ได้กลายเป็นข่าวหน้าหนึ่ง เนื่องจากการพบฟอสซิลไดโนเสาร์ที่มีขนาดใหญ่ และในอเมริกาใต้ ไดโนเสาร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดก็คือ อาร์เจนติโนซอรัส แต่สำหรับไดโนเสาร์ Titanosaurus มีการค้นพบไม่มีชนิด และก็มีอีกมากมายที่ไม่สามารถระบุชนิดได้ [1]

ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับ Titanosaurus

  • ชื่อ : ไททันโนซอรัสอินดิคัส
  • ความหมายของชื่อ : จิ้งจกไททานิค
  • อาหาร : สัตว์กินพืช
  • ความยาว : 9-12 เมตร
  • ช่วงเวลา : ครีเทเชียสตอนปลาย ประมาณ 70 ล้านปีก่อน
  • การจัดหมวดหมู่ : ไททันโนซอเรีย และย้ายกลุ่มเป็น ไททันโนซอริดี
  • สถานที่พบ : อินเดีย

ที่มา: General Statistics [2]

ข้อมูลจากการค้นพบ ไททันโนซอรัส สายพันธุ์อินดิคัส

โฮโลไทป์กระดูกสันหลังของสายพันธุ์อินดิคัส ถูกค้นพบระหว่างการสำรวจเมืองจาบาลปุระ ในปี พ.ศ. 2371 นำทีมโดยกัปตันวิลเลียม เฮนรี สลีแมน แห่งกองทัพอินเดียตะวันออก เขาเป็นบุคคลที่ทำการสำรวจฟอสซิล ซึ่งเป็นการพบฟอสซิลโดยบังเอิญ เพียงเพราะเขาเดินสะดุดกระดูกสันหลังบนเนินเขาบาราซิมลา

บริเวณพื้นที่ที่ใกล้กับโรงเก็บรถม้า ในขณะที่ออกค้นหาหลักฐานไม้กลายเป็นหิน การค้นพบกระดูกเหล่านี้ เขาได้มอบให้กับศัลยแพทย์ จีจี สปิลส์เบอรี ต่อมาจีจีก็ได้ส่งมอบฟอสซิลให้กับนักโบราณคดี ซึ่งพบว่ากระดูกที่กลายเป็นฟอสซิล เป็นกระดูกสันหลังของสัตว์เลื้อยคลานสายพันธุ์ เรียกว่า “Titanosaurus indicus”

ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ถือว่าสูญหาย และไม่สามารถติดตามได้ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ดังนั้นในปี 2010 แมทธิว คาร์ราโน เขาได้สร้างแบบจำลอง โดยอ้างอิงจากภาพประกอบ ที่ถูกวาดขึ้นในปี 1877 เพื่อใช้แทนพลาสโตไทป์ ที่มีหมายเลขสำรวจ NHMUK 40867

การจำแนกประเภทสายพันธุ์ ไททันโนซอรัส ที่เคยพบเห็น

Titanosaurus เป็นตระกูลหนึ่งของไดโนเสาร์ไททัน ซึ่งบางครั้งฟอสซิลของมัน กลายเป็นขยะหลายสายพันธุ์ ซึ่งรวมถึงสายพันธุ์ที่พบเจอในประเทศอินเดีย และยังรวมซึ่งหลักฐานการค้นพบฟอสซิล ที่มาจากยุโรปตอนใต้ ลาวและอเมริกาใต้ ในปัจจุบันมีเพียงสองสายพันธุ์เท่านั้น ที่มีการอธิบายและตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ

ตัวอย่างอดีตสายพันธุ์ที่เคยอยู่ในตระกูล

  • ราฮิโอลิเอนซิส : จากหลักฐานการค้นพบฟอสซิลฟัน ปัจจุบันถือเป็นนีโอซอโรพอด ที่ไม่สามารถระบุชนิดได้
  • ออสเตรลิส : เป็นที่รู้จักจากซากที่ค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น นอยเควนซอรัส
  • โรบัสตัส : ปัจจุบันถูกเรียกว่านิวเควนซอรัส
  • ฟัลโลติ : หนึ่งในสายพันธุ์ขนาดใหญ่ มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว และยังมีความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งกัน แต่ซากที่มีการค้นพบ ไม่สามารถระบุข้อมูลยืนยันได้
  • ลีเดกเคอริ : พวกมันมีความสัมพันธ์กับ I. valdensis แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน
  • ดาคัส : ไททาโนซอรัสแคระ ซึ่งปัจจุบันถูกย้ายไปยังสกุล Magyarosaurus

ที่มา: Classification [3]

ไททันโนซอรัส ลักษณะทางกายภาพ และพฤติกรรมการดำรงชีวิต

ไททันโนซอรัส

ไททันโนซอรัส จัดเป็นไดโนเสาร์กินพืชกลุ่มซอโรพอด พวกมันมีลำตัวค่อนข้างใหญ่ น้ำหนักหลายตัน ดำรงชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส ในส่วนเนื้อหาถัดไป ทางผู้เขียนจะอธิบายลักษณะทางกายภาพของไดโนเสาร์ชนิดนี้ รวมถึงพฤติกรรมการดำรงชีวิต ที่ทำให้พวกมันอยู่รอดเป็นกลุ่มสุดท้ายของตระกูล

รีวิว ลักษณะทางกายภาพของไดโนเสาร์ Titanosaurus

  • ขนาดและรูปร่าง : ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีความยาวประมาณ 12 เมตร และยาวได้มากถึง 15 เมตร พวกมันมีน้ำหนักประมาณ 15 ตัน ลำตัวมีลักษณะใหญ่และหนา มีรูปร่างคล้ายทรงกระบอก ออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำหนักของร่างกาย
  • กระดูกสันหลัง : บางส่วนจะมีลักษณะเป็นโพรงกลวง เพื่อช่วยลดน้ำหนักโดยรวมของร่างกาย กระดูกมีลักษณะเป็นรอยต่อที่แข็งแรง รองรับการเคลื่อนไหวของคอและหางที่ยาว
  • ขา : ขามีลักษณะเป็นทรงกระบอก รูปร่างใหญ่และทรงพลัง ขาหลังยาวกว่าขาหน้าเล็กน้อย
  • หาง : หางค่อนข้างยาวและหนา ช่วยในการทรงตัว และอาจใช้ในการป้องกันตัว
  • ศีรษะ : คอยาวปานกลางเมื่อเทียบกับซอโรพอดขนาดใหญ่ หัวมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับลำตัว มีรูจมูกอยู่ใกล้บริเวณด้านบน และฟันมีลักษณะทรงกระบอก คล้ายกับแท่งดินสอ เหมาะสำหรับการตัดและถอนใบไม้จากต้นไม้

พฤติกรรมการดำรงชีวิตของไดโนเสาร์ ไททันโนซอรัส

  1. พฤติกรรมการกินอาหาร : พวกมันเป็นไดโนเสาร์ประเภทกินพืช สามารถกินพืชได้หลากหลายชนิด มันจะใช้คอที่ยาวในการเข้าถึงพืชที่อยู่สูง และบางครั้งมันอาจกลืนหินเล็กๆ เพื่อช่วยบดอาหารในกระเพาะ
  2. พฤติกรรมการเคลื่อนไหว : พวกมันจะเดินด้วยขาทั้งสี่ การเดินมีลักษณะช้าแต่มั่นคง พวกมันอาจอพยพในช่วงฤดูกาล เพื่อหาแหล่งอาหารใหม่
  3. พฤติกรรมทางสังคม : พวกมันมีแนวโน้มที่จะอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยจากนักล่า การปกป้องในฝูง มันจะใช้หางที่ยาวและแข็งแรง ในการป้องกันตัวเองจากนักล่า
  4. พฤติกรรมการสืบพันธุ์ : พวกมันจะวางไข่ในพื้นที่ปลอดภัย เช่น ทรายหรือดินอ่อน มันจะวางไข่เป็นกลุ่มในรังใหญ่ เพื่อป้องกันไข่จากนักล่า

สรุป ไททันโนซอรัส

ไดโนเสาร์ชนิดนี้ ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่น่าสนใจ ถึงแม้จะมีการพบซากฟอสซิลเพียงไม่กี่ชิ้น แต่มันเป็นตัวแทนซอโรพอดจากยุคครีเทเชียส ที่แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวที่ยอดเยี่ยม ก่อนที่พวกมันจะสูญพันธุ์ไปจากโลกในยุคปัจจุบัน

อ้างอิง

[1] ThoughtCo. (January 2, 2020). About Titanosaurus. Retrieved from thoughtco

[2] Dinosaur King Wiki. (2024). General Statistics. Retrieved from dinosaurking.fandom

[3] WIKIPEDIA. (November 18, 2024). Classification. Retrieved from en.wikipedia

อุปสรรคขวากหนามในชีวิตจริงย่อมมีหนทางเอาชนะ มีเพียงสิ่งที่อยู่ในจินตนาการเท่านั้นที่ไม่อาจเอาชนะได้
PG168-HOMEหน้าหลักPG168-Promotionโปรโมชั่นpg168PG168-Registerสมัครสมาชิกpg168-Eventกิจกรรม
PGSLOT
หวย
บาคาร่า
กีฬา
โปรโมชั่น
สมาชิกใหม่รับโบนัส
แตกแจกเพิ่ม
ฝากแรกของวัน
กงล้อลุ้นโชค
ขาประจำ
ติดต่อเราLINE
pg168LINE ID : @vippg168PG168-line
PG168-bank
Copyright © 2023 Supported by PG168
pg168LINE ID : @vippg168
PGSLOT
หวย
บาคาร่า
กีฬา
PG168-linePG168-bankCopyright © 2023 Supported by PG168