ไดโนเสาร์กินเนื้อ กลุ่มสัตว์ดึกดำบรรพ์เทอโรพอด ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพโดดเด่น เดินด้วยขาหลังสองข้าง มีฟันแหลมคม ลำตัวสูงใหญ่ พวกมันอยู่บนจุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร ยุคของมันเริ่มต้นขึ้นในช่วงยุคไทรแอสสิก เมื่อประมาณ 231 ล้านปีที่ผ่านมา พวกมันเป็นสายพันธุ์ไดโนเสาร์ชนิดแรก ที่มีการปรากฏอยู่บนโลก
ไดโนเสาร์กินเนื้อ (Theropod) ชื่อของพวกมันหมายความว่า กิ้งก่ามีเท้าเหมือนสัตว์ ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มไดโนเสาร์ซอริสเชียน ที่มีลักษณะของขาที่หลากหลาย ไดโนเสาร์กลุ่มนี้อาศัยอยู่บนบก มีรูปร่างขนาดใหญ่ การค้นพบที่ทำให้โลกต้องสั่นสะเทือน ซากไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ ทีเร็กซ์ และไดโนนีคัส
ในปัจจุบัน ข้อมูลทางด้านการศึกษา แสดงให้เห็นความจัดเจนว่า นก เป็นลูกหลานของไดโนเสาร์ตระกูลเทอโรพอดเช่นกัน ดังนั้น ผู้คนมักพูดว่าไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้ว ความรู้เกี่ยวกับตระกูลกินเนื้อ ถูกปรับปรุงตลอดเวลา จากการค้นพบฟอสซิลใหม่ๆ อย่างเช่น Mononykus olecranus เทอโรพอดที่มีลักษณะคล้ายนก
หรือไดโนเสาร์นักล่าขนาดใหญ่ Giganotosaurus ที่มีขนาดเทียบเท่ากับทีเร็กซ์ ซึ่งพบในประเทศอาร์เจนตินา แต่ความจริงแล้ว การค้นพบและการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ในช่วงปี 1960 สามารถช่วยแก้ไขมุมมองเก่าๆ ของนักบรรพชีวินวิทยา เกี่ยวกับไดโนเสาร์ทั้งหมด กล่าวว่าพวกมันเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่เชื่องช้า และโง่เขลา
กลุ่มเทอโรพอดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ได้แก่ สไปโนซอรัส ซึ่งดำรงชีวิตอยู่ในทวีปแอฟริกา และสายพันธุ์ไดโนเสาร์ตัวเล็กที่สุด ได้แก่ ไมโครแรปเตอร์ ที่พบในประเทศจีน นอกจากนี้ กลุ่มเทอโรพอดยังเป็นไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกดึกดำบรรพ์ โดยสายพันธุ์ที่เก่าแก่มากที่สุด นั่นก็คือ อีโอแรปเตอร์ ในทวีปอเมริกาใต้
และไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอดกลุ่มแรก ที่มนุษย์ได้มีการค้นพบซากฟอสซิล นั่นก็คือ เมกะโลซอรัส และกลุ่มไดโนเสาร์เครือญาติของพวกมัน ก็คือซอโรพอด โดยสายพันธุ์เทอโรพอดส่วนใหญ่ จะกินเนื้อเป็นอาหาร แต่ก็มีบางสายพันธุ์ที่กินพืช อย่างเช่น เทอริสิโนซอรัส ที่ดำรงชีวิตเมื่อประมาณ 229-65 ล้านปีก่อน
ไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอดส่วนใหญ่ จะมีขนาดประมาณ 8-13 เมตร ซึ่งชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด จะมีขนาด 17 เมตร และชนิดที่เล็กที่สุด จะมีขนาดร่างกายเท่าไก่งวง เดิมทีพวกมันเป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ แต่เมื่อมีการขุดพบซากดึกดำบรรพ์ของ คอมซอกนาทัส ทำให้รู้ว่าก็มีไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อ ที่มีรูปร่างเล็กเช่นเดียวกัน [1]
ที่มา: 10 ไดโนเสาร์กินเนื้อที่อันตรายที่สุดในประวัติศาสตร์ [2]
หลังจากที่คุณได้ดูข้อมูลการแนะนำ ไดโนเสาร์กินเนื้อ หรือกลุ่มเทอโรพอด (Theropod) ที่ผู้เขียนได้แนะนำไปข้างต้นแล้ว ในส่วนถัดไป ทางเราจะพาทุกท่านไปดู ข่าวสารการค้นพบรอยเท้าของไดโนเสาร์กลุ่มนี้ ที่ถูกพบในประเทศไทย และยกตัวอย่างรายชื่อไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อ ที่มีชื่อเสียงและน่าเกรงขาม มีข้อมูลดังนี้
เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2566 มีข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์สิรินธร สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 2 พร้อมด้วยหัวหน้าอุทยานภูแฝก นายดำรงศักดิ์ ชูศรีทอง ได้เข้าไปตรวจสอบบริเวณบ๋าชาด ในพื้นที่ของวนอุทยานภูแฝก ตำบลภูแลนช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีการแจ้งร่องรอยของสัตว์ดึกดำบรรพ์
จากการสำรวจบริเวณดังกล่าว มีลักษณะเป็นลานหินขนาดใหญ่ และมีการพบรอยเท้าไดโนเสาร์มากกว่า 10 รอย ซึ่งกระจายตัวอยู่บนลานหินทราย หมวดหินพระวิหาร โดยมีอายุราวๆ 140 ล้านปี โดยรอยเท้าไดโนเสาร์ที่พบนี้ มีความยาวประมาณ 21-30 เซนติเมตร กว้าง 17-31 เซนติเมตร คาดว่าเป็นร้อยเท้า ไดโนเสาร์กินเนื้อ ขนาดเล็ก
คาดว่าเป็นไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อ ที่มีร่างกายขนาดเล็ก สูงประมาณ 2 เมตร ความยาวประมาณ 5 เมตร และนี่ถือเป็นการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์แห่งใหม่ในประเทศไทย รอยเท้านี้ถูกพบบริเวณที่ห่างจากบริเวณที่เคยถูกพบ รอยทางเดินของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ที่สุดของไทย ห่างจากกันประมาณ 1.5 กิโลเมตร [3]
ไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อบางสายพันธุ์ ยังเป็นบรรพบุรุษของนกในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นการเชื่อมโยงระหว่างไดโนเสาร์ และสัตว์ในยุคปัจจุบัน และพวกมันยังเป็นหนึ่งในหัวข้อที่น่าสนใจ และได้รับการศึกษามาอย่างต่อเนื่องในทางบรรพชีวินวิทยา อีกทั้งบางชนิดยังมีบทบาทในวัฒนธรรมสมัยใหม่อีกด้วย
[1] วิกิพีเดีย. (November 21, 2024). เทโรพอด. Retrieved from th.wikipedia
[2] Petmaya. (November 30, 2014). 10 ไดโนเสาร์กินเนื้อที่อันตรายที่สุดในประวัติศาสตร์. Retrieved from petmaya
[3] ไทยรัฐออนไลน์. (January 27, 2023). พบรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อแห่งใหม่ในไทย. Retrieved from thairath