โอวิแรปเตอร์ มารู้จักไดโนเสาร์นักล่าจอมขโมยไข่ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเทอโรพอด พวกมันมีลักษณะเฉพาะตัวที่โดดเด่น มีขนปกคลุมเต็มตัว ดำรงชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส เราจะพาไปดูประวัติการขุดพบซากฟอสซิลครั้งแรก และเหตุผลที่มันถูกใส่ร้ายว่าเป็นหัวขโมยไข่ มาดูรายละเอียดข้อมูลที่น่าสนใจ ดังข้อมูลต่อไปนี้
โอวิแรปเตอร์ (Oviraptor) สายพันธุ์ไดโนเสาร์มีหงอน ส่วนสูงประมาณหัวเข่า มีการค้นพบครั้งแรกในประเทศมองโกเลีย ซึ่งการค้นพบในครั้งนี้ พบว่ามันอยู่กับลูกในรัง ในลักษณะกกไข่ ซึ่งเป็นหลักฐานที่ระบุว่าพวกมัน เป็นสายพันธุ์ไดโนเสาร์เลี้ยงลูกที่ดี พบเห็นในชั้นหินของยุคครีเทเชียส ในช่วงเวลา 90-85 ล้านปี [1]
ไดโนเสาร์ประเภทนี้ ดำรงชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส ซากฟอสซิลชิ้นแรกถูกพบในชั้นหิน Djadokhta ในประเทศมองโกเลีย ในปี 1923 ในระหว่างการสำรวจทางบรรพชีวินวิทยา ซึ่งนำโดย รอย แชปแมน แอนดรูส์ ต่อมาเขาได้ตั้งชื่อสกุลและชนิดสายพันธุ์ไดโนเสาร์นี้ขึ้นมาว่า Oviraptor philoceratops “หัวขโมยไข่”
ซึ่งชื่อของมัน มีวัตถุประสงค์ยืนยัน บ่งชี้ว่าพวกมันชอบขโมยไข่ของเซอราทอปเซียน แม้ว่าจะมีการอ้างอิงตัวอย่างจำนวนมาก แต่ก็มีข้อมูลเพียงแค่โครงกระดูกชิ้นเดียวเท่านั้น ซึ่งถูกเรียกว่าโฮโลไทป์ รวมถึงซากฟอสซิลรังไข่อีกประมาณ 15 ฟอง และชิ้นส่วนเล็กๆ หลายชิ้น จากชนิดสัตว์วัยเด็ก
พวกมันได้รับการอธิบายครั้งแรกในปี 1924 โดย Osborn ได้สันนิษฐานว่าพวกมันเป็นสิ่งมีชีวิตที่กินไข่ สิ่งมีชีวิตที่กินอาหารจากไข่ ในปี 1977 Barsbold ได้มีการสันนิษฐานขากรรไกรบดขยี้ของมัน เขาโต้แย้งว่าความแข็งแรงของขากรรไกรล่าง พบได้ในลักษณะทางธรณีวิทยา รวมถึงกระดูกขากรรไกรบน
กระดูกเหล่านี้มาบรรจบกันตรงกลาง ขากรรไกรล่างร่วมกับกระดูกหลายชิ้น ที่ยื่นออกมาจากเพดานปาก อาจเป็นเครื่องมือเจาะ Barsbold เขายังแนะนำว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้ อาจมีรูปแบบชีวิตแบบกึ่งน้ำ โดยอาศัยอาหารจากหอย รวมถึงโพรงจมูกที่อยู่สูง กล้ามเนื้อหางที่ขยายใหญ่ขึ้น และนิ้วโป้งมือที่ใหญ่ขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในปี 2018 Funston พร้อมกับเพื่อนร่วมทีมของเขา ร่วมงานสนับสนุนสมมติฐานขากรรไกรบดขยี้ พวกเขาได้ชี้ให้เห็นว่าปากที่แข็งแรง และขากรรไกรล่างที่แข็งแรงของเจ้าโอวิแรปเตอร์ นั้นบ่งบอกถึงการกัดที่แรง ซึ่งค่อนข้างคล้ายกับนกแก้ว อีกทั้งพวกเขายังอธิบายลักษณะทางกายวิภาค ที่คาดว่าพวกมันกินผลไม้ [2]
ที่มา: In popular culture [3]
สำหรับเจ้าไดโนเสาร์หัวขโมยไข่ โอวิแรปเตอร์ (Oviraptor) กลุ่มเทอโรพอดที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว พวกมันมีขนาดเล็ก-ปานกลาง อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย เมื่อประมาณ 75-71 ล้านปีก่อน พวกมันถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับ เวโลซิแรปเตอร์ และในส่วนถัดไป เราจะพาไปดูลักษณะทางกายภาพ และการค้นพบครั้งล่าสุด
ก่อนหน้านี้มีการพบซากฟอสซิลของพวกมัน และถูกจัดเป็นกลุ่มไดโนเสาร์ที่มีขนเหมือนนก ซากฟอสซิลที่ถูกค้นพบนั้น มีสภาพเกือบสมบูรณ์แบบมากที่สุด ถูกพบในพื้นที่ทางใต้ของจีน และมองโกเลีย แต่สิ่งที่น่าสนใจของพวกมัน ก็คือวิธีการหาอาหาร สายพันธุ์ที่ไม่มีฟันเหล่านี้ ยังเป็นข้อมูลที่ไม่มีการยืนยันอย่างชัดเจน
ข้อมูลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล ได้ศึกษาข้อมูลเพื่อหาคำตอบในเรื่องดังกล่าว โดยวิเคราะห์โครงกระดูกของไดโนเสาร์ประเภทนี้ ที่มีการพบการก่อตัวของพื้นที่ ในหมวดหินเนเม็กต์ในทะเลทรายโกบี และได้ตั้งชื่อสายพันธุ์ใหม่นี้ขึ้นมาว่า โกบีแรปเตอร์ โดยมีลักษณะแยกออกจากโอวิแรปตอโรซอร์ชนิดอื่นๆ
พื้นที่ในหมวดหินเนเม็กต์ จะประกอบไปด้วยแม่น้ำและทะเลสาบเป็นส่วนใหญ่ นักวิจัยได้ยืนยันว่าไดโนเสาร์เหล่านี้ สามารถปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะการกินอาหารที่แตกต่างกัน จะช่วยอธิบายถึงความหลากหลายในการจัดหมวดหมู่ รวมถึงความสำเร็จเชิงวิวัฒนาการของกลุ่มไดโนเสาร์ชนิดนี้อีกด้วย [4]
โดยรวมแล้วพวกมัน ถือว่าเป็นสายพันธุ์ไดโนเสาร์ ที่สามารถสะท้อนถึงการเปลี่ยนผ่านระหว่างไดโนเสาร์ และนกในยุคปัจจุบัน ทั้งในด้านลักษณะทางกายภาพ และพฤติกรรมที่ซับซ้อน รวมไปถึงลักษณะที่โดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ฟอสซิลของพวกมันถือเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญ เกี่ยวกับการวิวัฒนาการอีกด้วย
[1] วิกิพีเดีย. (December 11, 2022). โอวิแรปเตอร์. Retrieved from th.wikipedia
[2] WIKIPEDIA. (July 1, 2024). Paleobiology. Retrieved from en.wikipedia
[3] DINOPEDIA. (2024). In popular culture. Retrieved from dinopedia.fandom
[4] ไทยรัฐออนไลน์. (February 13, 2019). โอวิแรปตอโรซอร์พันธุ์ใหม่พบในมองโกเลีย. Retrieved from thairath