เทอโรซอร์ สายพันธุ์สัตว์ดึกดำบรรพ์ยุคแรก ที่วิวัฒนาการร่างกาย ให้สามารถบินได้ด้วยปีกขนาดใหญ่ อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย พวกมันถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน และยังเป็นบรรพบุรุษสัตว์โลกในยุคปัจจุบัน เราจะพาทุกท่านไปดูประวัติการขุดพบ ลักษณะทางกายภาพ และพฤติกรรมการดำรงชีวิตของพวกมัน
เทอโรซอร์ (Pterosaur) ชื่อของพวกมันมาจากภาษากรีก ซึ่งหมายถึง “กิ้งก่ามีปีก” ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเภทสัตว์เลื้อยคลานประเภทหนึ่ง โดยอาศัยอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ หรือก็คือโลกของยุคไดโนเสาร์นั่นเอง พวกมันมีลักษณะพิเศษ สามารถบินได้ด้วยปีกขนาดใหญ่ ที่ทำมาจากพังผืด เช่นเดียวกับค้างคาวในยุคปัจจุบัน
พวกมันมักถูกเรียกด้วยชื่อไดโนเสาร์บินได้ และยังมีอีกหนึ่งชื่อที่มนุษย์รู้จัก นั่นก็คือเทอโรแดกทิล พวกมันมีชีวิตอยู่ในช่วงมหายุคมีโซโซอิก ดำรงชีวิตและสืบทอดเผ่าพันธุ์มานานกว่า 162 ล้านปี ก่อนที่จะสูญพันธุ์ไปในช่วงปลายยุคครีเทเชียส ในปัจจุบัน นักบรรพชีวินวิทยา ได้มีการจำแนกชนิดของมันกว่า 200 ชนิด
มันได้วิวัฒนาการมาเป็นลำดับ ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น ยุคจูราสสิค ไปจนถึงยุคครีเทเชียส เป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ที่สุด มีความสูงเทียบเท่ากับยีราฟ มีความกว้างของปีก 10.5 เมตร ซึ่งเทียบเท่ากับเครื่องบิน F-16 น้ำหนักตัว 200 กิโลกรัม ปากเป็นจะงอยยาว และพวกมันถูกจัดให้เป็นสิ่งมีชีวิตบินได้ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด [1]
โดยซากฟอสซิลของเจ้ากิ้งก่าบินได้ชนิดนี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก เนื่องจากมีโครงสร้างกระดูกที่เบา โครงสร้างโดยทั่วไปของกระดูกที่สมบูรณ์ จะพบได้เฉพาะในชั้นธรณีวิทยา ที่มีสภาพรักษาเป็นพิเศษ โดยซากฟอสซิลชิ้นแรก ถูกพบในชั้นหินปูน Solnhofen จากยุคจูราสสิคตอนปลาย ในประเทศบาวาเรีย
ซากฟอสซิลของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ได้รับความสนใจ และได้รับความนิยมในกลุ่มนักสะสมที่ร่ำรวย ในปี 1784 นักธรรมชาติวิทยา Cosimo Alessandro Collini เราได้อธิบายฟอสซิลของ เทอโรซอร์ ครั้งแรก เกี่ยวกับแนวคิดในเรื่องของวิวัฒนาการ และการสูญพันธุ์ ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์
โครงสร้างที่ประหลาดของพวกมัน ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจน ว่าพวกมันเป็นสัตว์กลุ่มใด การค้นพบฟอสซิลครั้งยิ่งใหญ่นี้ จึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาของบรรพชีวินวิทยา และธรณีวิทยาสมัยใหม่ และความเห็นของนักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้น คาดว่าพวกมันน่าจะอาศัยอยู่ในทะเลเท่านั้น [2]
ถึงแม้พวกมันจะไม่ใช่กลุ่มไดโนเสาร์ แต่ถูกจัดให้เป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังชนิดแรก ที่มีการวิวัฒนาการด้านการบิน จากหลักฐานอันเก่าแก่ที่มีการขุดพบ มีอายุประมาณ 230 ล้านปี ก่อนหน้านี้นักวิจัยเผยว่า พวกมันอาจไม่ได้มีขนาดใหญ่ จนมาถึงปลายยุคจูราสสิค พวกมันก็ถูกจัดให้สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่มีการค้นพบ
ข่าวการค้นพบครั้งล่าสุด จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ในประเทศสกอตแลนด์ เผยข้อมูลการศึกษากายวิภาคจากซากฟอสซิล ที่มีการขุดพบเมื่อ 5 ปีก่อน ในแหล่งน้ำบนเกาะสกาย ระบุว่าซากฟอสซิลชนิดนี้ ยังไม่มีใครที่รู้จักมาก่อน และได้ทำการตั้งชื่อตามภาษาเกลิคสกอตแลนด์ว่า “ยาร์ก สกีแอนอาร์ก” หมายถึง สัตว์เลื้อยคลานมีปีก
ในขณะที่ทำการวิเคราะห์การเจริญเติบโตฟอสซิลนี้ พบว่ามันยังมีขนาดที่ไม่โตเต็มวัย ซึ่งหมายความว่า ในขณะที่พวกมันโตเต็มวัย จะมีขนาดที่ใกล้เคียงกับนกบินได้ขนาดใหญ่ที่สุด ก็คือ นกอัลบาทรอส แต่มีแนวโน้มว่าฟอสซิลนี้ อาจจะมีปีกที่ยาวกว่า จากการสแกนส่วนสมอง พบว่าพวกมันมีสมองส่วนกลางขนาดใหญ่อีกด้วย [3]
หลังจากที่คุณ ได้ทำการดูรายละเอียดเกี่ยวกับการค้นพบ และการมีอยู่ของสัตว์เลื้อยคลานมีปีก บินได้ อย่างเช่น เทอโรซอร์ ที่ทางผู้เขียนได้กล่าวเอาไว้ข้างต้น สำหรับข้อมูลในส่วนนี้ ทางเราจะพาทุกท่านไปดู รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพที่น่าสนใจ พร้อมกับบอกข้อมูลพฤติกรรมการดำรงชีวิตของพวกมัน มีข้อมูลดังนี้
และนี่ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ และพฤติกรรมการดำรงชีวิตของสัตว์เลื้อยคลานมีปีก และการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ซากฟอสซิลในประเทศสกอตแลนด์ หากท่านใดต้องการดูบทความรีวิวเกี่ยวกับ ไดโนเสาร์ที่รักสงบ กินใบไม้เป็นอาหารหลัก สามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ ไดโนเสาร์กินพืช
ถือว่าเป็นสัตว์ยุคแรกเริ่ม ที่มีพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการบิน การหาอาหาร และการสืบพันธุ์ โดยพฤติกรรมเหล่านี้ ช่วยให้พวกมันสามารถอยู่รอดในระบบนิเวศ ในช่วงยุคมีโซโซอิกได้อย่างกว้างขวาง และทำให้พวกมันมีชีวิตทุกยุคทุกสมัย ก่อนที่จะเกิดการสูญพันธุ์
[1] วิกิพีเดีย. (November 21, 2024). เทอโรซอร์. Retrieved from th.wikipedia
[2] WIKIPEDIA. (November 26, 2024). History of discovery. Retrieved from en.wikipedia
[3] ไทยรัฐออนไลน์. (March 2, 2022). เทอโรซอร์ขนาดใหญ่สุดที่เคยพบในสกอตแลนด์. Retrieved from thairath