ลู่เฟิงโกซอรัส พาไปรู้จักไดโนเสาร์กินพืชสัญชาติจีน ที่ดำรงชีวิตในยุคจูราสสิคตอนต้น เมื่อประมาณ 200 ล้านปีก่อน พวกมันเป็นสายพันธุ์ยุคเก่าแก่ ที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ ได้เข้าใจวิวัฒนาการของไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอด ในบทความนี้ เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักไดโนเสาร์ชนิดนี้ ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
ลู่เฟิงโกซอรัส (Lufengosaurus) หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ ที่ถูกพบเมื่อปี ค.ศ. 1941 ในประเทศจีน ซึ่งชื่อของมันหมายความว่า “กิ้งก่าแห่งลู่เฟิง” เนื่องจากการขุดพบซากฟอสซิลของมัน ถูกพบที่อำเภอลู่เฟิง และเป็นไดโนเสาร์กินพืช ที่มีลักษณะคล้ายกับออร์นิโทไมมัส แต่มีขนาดร่างกายที่ใหญ่กว่า [1]
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไดโนเสาร์ตัวนี้
ที่มา: Lufengosaurus Key Facts [2]
สำหรับซากฟอสซิลของไดโนเสาร์ตัวนี้ ถูกพบในช่วงปลายทศวรรษ ปี 1930 โดยนักธรณีวิทยา เบียน ไมเนียน ในชั้นหินลู่เฟิง ทางตอนล่างของเมือง Shawan ใกล้กับเมืองลู่เฟิง ในมณฑลยูนนานของจีน ต่อมาในปี 1938 นักบรรพชีวินวิทยาชาวจีน ได้ทำการตั้งชื่อสปีชีส์ต้นแบบของพวกมันว่า Lufengosaurus huenei
ซึ่งชื่อสามัญของไดโนเสาร์ชนิดนี้ มาจากสถานที่ที่พบฟอสซิล และได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นักบรรพชีวินวิทยาชาวเยอรมัน ฟรีดริช ฟอน ฮูเอเน ต่อมาได้มีการเผยแพร่คำอธิบายแบบ และกำหนดให้เป็นตัวอย่างโฮโลไทป์ IVPPV15 ตัวอย่างฟอสซิลประกอบไปด้วย โครงกระดูก และกะโหลกศีรษะ ที่เกือบสมบูรณ์
ในปี 2015 ทีมนานาชาติ ซึ่งนำทีมโดย เหยา ชาง ลี จากศูนย์วิจัยรังสีซินโครตรอนแห่งชาติจากไต้หวัน เขาได้ค้นพบโปรตีน คอลลาเจน ที่เก็บรักษาไว้ได้ในฟอสซิลของ Lufengosaurus โดยโปรตีนดังกล่าว ถูกอธิบายในวารสาร Nature Communications ที่มีอายุย้อนไปนานกว่า 100 ล้านปีก่อน [3]
ลู่เฟิงโกซอรัส (Lufengosaurus) ฟอสซิลของพวกมัน ถูกพบมากในมณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ซอโรพอด ที่พบจากแอ่งลู่เฟิงในยุคจูราสสิคตอนต้น และเป็นหนึ่งในโพรซอโรพอดหลายชนิด ที่ค้นพบจากกลุ่มฟอสซิล ร่วมกับจระเข้และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในยุคแรกๆ
แม้ว่าโครงกระดูกของไดโนเสาร์ชนิดนี้ จะมีความสมบูรณ์แบบ แต่ก็ไม่ได้มีการอธิบายไว้อย่างครบถ้วน กะโหลกศีรษะนั้นมีลักษณะยาวและแบน เป็นตุ่มเล็กๆ และมีรูที่อยู่เหนือจมูก ที่สำคัญ มันเป็นสายพันธุ์กินพืชขนาดใหญ่ คอยาว ฟันของมันออกแบบมาคล้ายกับใบมีด ที่มีไว้สำหรับกินพืชได้หลากหลายชนิด
ขาหน้าสั้นกว่าขาหลัง ทำให้พวกมันเป็นสัตว์ที่เดินด้วยขา 4 ขา สำหรับขาหลังมีลักษณะใหญ่และทรงพลัง มีแนวโน้มว่าพวกมันจะใช้ขาหลังยืนประคองร่างกาย และใช้ขาหน้ายันต้นไม้ เพื่อยืดคอที่ยาวไปกินใบไม้ที่อยู่สูง สำหรับนิ้วมือของไดโนเสาร์ชนิดนี้ จะมีนิ้วหัวแม่มือที่ใหญ่ บางครั้งอาจใช้เป็นอาวุธป้องกันตัว [4]
ลู่เฟิงโกซอรัส (Lufengosaurus) ไดโนเสาร์กินพืชกลุ่มซอโรพอด ที่ดำรงชีวิตอยู่ในยุคจูราสสิคตอนต้น-ตอนกลาง มีการพบซากฟอสซิลทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน สำหรับข้อมูลในส่วนถัดไป เราจะพาไปดูลักษณะทางกายภาพ และความเกี่ยวข้องทางชีววิทยาโบราณ โดยมีรายละเอียดข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้
ไดโนเสาร์ชนิดนี้ มีขาหลังยาวกว่าขาหน้า ซึ่งเหมือนกับไดโนเสาร์กินพืชชนิดอื่น โดยบางครั้งมันอาจจะเดินสองขา ซึ่งคล้ายกับ แบรคิโอซอรัส และยังมีกรงเล็บแหลมคม โดยเฉพาะกรงเล็บนิ้วหัวแม่มือขนาดใหญ่ ลักษณะเหล่านี้ถูกนำมาใช้ เพื่อสนับสนุนการอ้างสิทธิ์ในปี 1981 ว่าพวกมันกินได้ทั้งพืชและสัตว์ขนาดเล็ก
แต่ฟันอันแหลมคมของไดโนเสาร์ตัวนี้ รวมถึงไดโนเสาร์ซอโรโปโดมอร์ฟยุคแรก นั้นคล้ายกับฟันที่พบในกิ้งก่าอิกัวนา ซึ่งเป็นสัตว์กินพืช หรืออาจใช้กรงเล็บ ไว้สำหรับป้องกันตัวเองจากนักล่า และใช้กรงเล็บสำหรับกวาดใบไม้ เอ็มบริโอของพวกมัน ยังถือเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด ของการรักษาเนื้อเยื่อ [5]
สำหรับข้อมูลที่ได้มาจากการศึกษาฟอสซิล Lufengosaurus ถือว่าพวกมันมีบทบาทสำคัญ ในการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศในยุคจูราสสิคตอนต้น และเป็นไดโนเสาร์ที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ ได้เข้าในวิวัฒนาการจากไดโนเสาร์ขนาดเล็ก สู่ซอโรพอดในยุคต่อมา
[1] วิกิพีเดีย. (November 22, 2024). ลู่เฟิงโกซอรัส. Retrieved from th.wikipedia
[2] THE DINOSAURS. (January 23, 2024). Lufengosaurus Key Facts. Retrieved from thedinosaurs
[3] WIKIPEDIA. (October 14, 2024). History of Discovery. Retrieved from en.wikipedia
[4] DINOPEDIA. (2024). Lufengosaurus. Retrieved from dinopedia.fandom
[5] Jurassic Park Institute Wiki. (2024). Paleobiology. Retrieved from jurassic-park-institute