line-pg168

มารู้จัก ภูเวียงโกซอรัส ไดโนเสาร์คอยาว กินพืช จากประเทศไทย

ธันวาคม 13, 2024
ภูเวียงโกซอรัส

ภูเวียงโกซอรัส สัตว์เลื้อยคล้ายแห่งยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในตระกูลไททาโนซอร์ ดำรงชีวิตอยู่ในช่วงต้นยุคครีเทเชียส พวกมันเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอดขนาดกลาง คอยาว กินพืชเป็นอาหาร ถูกพบในประเทศไทย ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักไดโนเสาร์ชนิดนี้ ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

ภูเวียงโกซอรัส มีการค้นพบฟอสซิลครั้งแรกตั้งแต่เมื่อใด?

ภูเวียงโกซอรัส (Phuwiangosaurus)ชื่อของมันมีความหมายว่า “สัตว์เลื้อยคลานขนาดยักษ์แห่งภูเวียง”เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของตระกูล Titanosauria จากต้นยุคครีเทเชียส ถูกพบในหมวดหินเสาขัวของประเทศไทย ได้รับการอธิบายและได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ. 2537 โดยกรมทรัพยากรธรณี

ชื่อเต็มที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติที่พระองค์ท่าน มีความสนใจในงานด้านธรณี และบรรพชีวินวิทยาในประเทศไทย โดยซากฟอสซิลของไดโนเสาร์ตัวนี้ ถูกพบในพื้นอุทยานแห่งชาติภูเวียง ในปี พ.ศ. 2525 [1]

ข่าวสารการค้นพบไดโนเสาร์ตัวแรกในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2519 นายสุธรรม แย้มนิยม เจ้าหน้าที่จากโครงการสำรวจแร่ยูเรเนียม ได้ขุดพบกระดูกขนาดใหญ่ท่อนหนึ่ง ที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยซากกระดูกขนาดใหญ่นี้ ได้รับความสนใจจากนักโบราณชีววิทยาชาวฝรั่งเศส จึงได้ทำการเข้าตรวจสอบในเวลาต่อมา แต่ผลของการวิจัยไม่สามารถระบุตระกูลได้

เพียงแค่บอกข้อมูลได้ว่าเป็นไดโนเสาร์ประเภทกินพืช เดินด้วยเท้าทั้งสี่ ลักษณะคอและหางที่ยาว การค้นพบและงานวิจัยในครั้งนี้ นับว่าเป็นรายงานการค้นพบไดโนเสาร์ครั้งแรกในประเทศไทย และจากการสำรวจของคณะสำรวจไดโนเสาร์ไทย และฝรั่งเศส ก็ได้ขุดพบกระดูกไดโนเสาร์ซอโรพอดอีกหลายแห่ง

คณะสำรวจจึงได้คัดเลือกนักศึกษาปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยปารีส มาร่วมทำการวิจัยในหัวข้อ “ไดโนเสาร์ซอโรพอด ยุคครีเทเชียสตอนต้น ของประเทศไทย” โดยมี ดร. อิริค บุพโต และนายวราวุธ สุธีธร เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา รายงานการวิจัยในครั้งนี้ สำเร็จและได้นำเสนอในปี พ.ศ. 2537 [2]

รีวิว ตัวอย่างฟอสซิลของไดโนเสาร์ ภูเวียงโกซอรัส

ตัวอย่างฟอสซิลของมัน ถูกพบในหินเสาขัวของประเทศไทย เป็นโครงกระดูกบางส่วนของไดโนเสาร์ที่โตเต็มวัย ซึ่งประกอบไปด้วยกระดูกสันหลังส่วนคอ 3 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนหลัง 3 ชิ้น ซี่โครงและกระดูกเชฟรอน กระดูกสะบักทั้งสองข้าง กระดูกคอราคอยด์ กระดูกต้นแขนซ้าย และกระดูกน่องซ้าย

สำหรับกระดูกส่วนหางที่มีการขุดพบในบริเวณเดียวกัน ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นตัวเดียวกัน โครงกระดูกมีความสมบูรณ์ประมาณ 60% รวมถึงกะโหลกศีรษะบางส่วน ในปี 2020 แคชมอร์และคณะสำรวจของเขา คำนวณว่าโดยรวมแล้ว 65% ของกายวิภาคโครงกระดูก ก็ยังมีกระดูกของมันในวัยเด็กจำนวนมากปะปนอยู่ด้วย

Phuwiangosaurus เป็นซอโรพอดขนาดกลาง ที่มีความยาวประมาณ 15-20 เมตร มีการประเมินมวลของมันไว้ที่ 17 ตัน และยังมีฟันลักษณะเรียวคล้ายหมุด มีความสูงจากโคนถึงปลาย มีเฉลี่ยมากกว่าความกว้างของฐานฟัน 4 เท่า จากการศึกษาฟอสซิล พวกมันอาจมีกระดูกสันหลังจนถึงกลางคอ 13 ชิ้น [3]

ภูเวียงโกซอรัส รูปลักษณ์ภายนอก | ข่าวสารการค้นพบสายพันธุ์ใหม่

ภูเวียงโกซอรัส

สำหรับข้อมูลในส่วนนี้ ทางผู้เขียนจะพาไปดูรายละเอียดข้อมูล เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของไดโนเสาร์ ภูเวียงโกซอรัส (Phuwiangosaurus) ว่าพวกมันจะมีลักษณะทางกายภาพอย่างไรบ้าง รวมถึงข่าวสารการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นสายพันธุ์ใหม่ ที่มีการค้นพบในจังหวัดขอนแก่น

Phuwiangosaurus มีรูปลักษณ์ภายนอกอย่างไรบ้าง?

  • ขนาดตัว : พวกมันมีความยาวประมาณ 15-20 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 20 ตัน
  • รูปร่าง : พวกมันเป็นไดโนเสาร์กินพืช ที่มีลำตัวยาวคล้ายทรงกระบอก อีกทั้งยังมาพร้อมกับคอและหางที่ยาว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เด่นของไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอด
  • กะโหลกศีรษะ : พวกมันมีกะโหลกศีรษะค่อนข้างเล็ก เมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว ฟันมีลักษณะคล้ายช้อน ใช้สำหรับกินพืชเป็นอาหาร
  • คอและหาง : ลักษณะของคอที่ยาวนั้น จะช่วยให้พวกมันกินใบไม้ที่อยู่สูงได้ง่าย สำหรับหางยาวของมัน อาจใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวจากนักล่า หรือใช้ในการทรงตัวเมื่อพวกมันเคลื่อนไหว
  • ขา : พวกมันเป็นไดโนเสาร์ที่มีขาที่ใหญ่และทรงพลัง เดินด้วยขาทั้ง 4 ขา ซึ่งมีลักษณะคล้ายเสาสี่ต้น
  • ผิวหนัง : ยังไม่มีหลักฐานข้อมูลที่ชัดเจน เกี่ยวกับผิวหนังของพวกมัน แต่สำหรับไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอดโดยทั่วไป มักจะมีผิวหนังที่หนา มีลักษณะเป็นเกล็ด

และนี่ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของไดโนเสาร์สัญชาติไทย โดยรวมแล้วลักษณะของมันมีความเหมือนกับไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอดชนิดอื่นๆ หรือถ้าหากผู้อ่านต้องการดูข้อมูลเกี่ยวกับไดโนเสาร์ซอโรพอด หรือไดโนเสาร์ชนิดกินพืช สามารถคลิกเข้าไปดูได้ที่ ไดโนเสาร์กินพืช

ข่าวสารสำคัญ มีการพบฟอสซิลไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ในไทย

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูเวียง นายสุธรรม วงษ์จันทร์ ได้เปิดเผยรายงานในปี พ.ศ. 2567 ทางอุทยานแห่งชาติภูเวียง ได้ร่วมงานกับสำนักทรัพยากรธรณี เขตที่ 2 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และอุทยานธรณีขอนแก่น ได้ดำเนินโครงการขุดค้นแล้วเก็บข้อมูลซากดึกดำบรรพ์ ในพื้นที่หลุมขุดค้นห้วยประตูตีหมา

โดยโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุน จากกองทุนจัดการซากดึกดำบรรพ์ กรมทรัพยากรธรณี ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านฟอสซิลของไดโนเสาร์ นำทีมโดย ดร. วราวุธ สุธีธร โดยโครงการระยะแรกเป็นการขุดสำรวจฟอสซิลหลุมที่ 3 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2567

ทีมสำรวจได้มีการขุดพบกระดูกส่วนต้นคอ และกระดูกซี่โครงขนาดใหญ่ กระดูกมีความพรุนคล้ายกระดูกนก คาดว่าน่าจะเป็นกระดูกของไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอด ที่กินพืชเป็นอาหาร มีคอที่ยาว และขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่าภูเวียงโกซอรัส ที่เคยมีการค้นพบที่ภูเวียงเมื่อหลายปีที่ผ่านมา [4]

สรุป ภูเวียงโกซอรัส

สำหรับไดโนเสาร์ที่ถูกพบในประเทศไทย พวกมันมีความใกล้เคียงกับไดโนเสาร์ซอโรพอด ที่มีการค้นพบในประเทศจีน อย่าง Mamenchisaurus และ Euhelopus ซึ่งบ่งบอกถึงการเชื่อมโยงของไดโนเสาร์ ในภูมิภาคเอเชีย อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์ ที่ช่วยให้ประเทศไทยมีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลก

อ้างอิง

[1] วิกิพีเดีย. (October 20, 2024). ภูเวียงโกซอรัส. Retrieved from th.wikipedia

[2] สนเทศน่ารู้. (September 9, 2009). ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่. Retrieved from lib

[3] WIKIPEDIA. (September 20, 2024). Fossil specimens. Retrieved from en.wikipedia

[4] Sanook. (March 31, 2024). ขอนแก่นขุดพบฟอสซิลไดโนเสาร์. Retrieved from sanook

อุปสรรคขวากหนามในชีวิตจริงย่อมมีหนทางเอาชนะ มีเพียงสิ่งที่อยู่ในจินตนาการเท่านั้นที่ไม่อาจเอาชนะได้
PG168-HOMEหน้าหลักPG168-Promotionโปรโมชั่นpg168PG168-Registerสมัครสมาชิกpg168-Eventกิจกรรม
PGSLOT
หวย
บาคาร่า
กีฬา
โปรโมชั่น
สมาชิกใหม่รับโบนัส
แตกแจกเพิ่ม
ฝากแรกของวัน
กงล้อลุ้นโชค
ขาประจำ
ติดต่อเราLINE
pg168LINE ID : @vippg168PG168-line
PG168-bank
Copyright © 2023 Supported by PG168
pg168LINE ID : @vippg168
PGSLOT
หวย
บาคาร่า
กีฬา
PG168-linePG168-bankCopyright © 2023 Supported by PG168