พาราซอโรโลฟัส ไดโนเสาร์กินพืช จากตระกูลไดโนเสาร์ปากเป็ด (Hadrosauridae) ดำรงชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย ซึ่งปัจจุบันคือทวีปอเมริกาเหนือ พวกมันเป็นสิ่งมีชีวิต ที่สามารถเดินได้ทั้งสองขาและสี่ขา และอีกหนึ่งจุดเด่นเฉพาะตัวของมัน ก็คือหงอนที่งอกอยู่เหนือศีรษะ คาดว่าพวกมันใช้หงอนในการสื่อสารกับตัวอื่น
พาราซอโรโลฟัส (Parasaurolophus) ซึ่งชื่อของมันหมายความว่า “เจ้ากิ้งก่ามีหงอน” ในช่วงเวลาที่มีการค้นพบซากฟอสซิลนั้น มีการค้นพบไดโนเสาร์ตระกูลใกล้ชิดกับไดโนเสาร์ตัวนี้ ได้แก่ ซอโรโลฟัส พวกมันถูกตั้งชื่อตามเครือญาติ และยังเป็นสายพันธุ์ในตระกูลไดโนเสาร์ปากเป็ด พวกมันกินพืชเป็นอาหาร จากยุคครีเทเชียส
ซึ่งในปัจจุบันคือทวีปอเมริกาเหนือและเอเชีย มีชีวิตประมาณ 76 ล้านปีก่อน มันถือว่าเป็นไดโนเสาร์กินพืช ที่สามารถเดินได้ 2 ขาและ 4 ขา แต่ส่วนใหญ่มันจะเดินสี่ขา ฟอสซิลที่มีการค้นพบที่รัฐแอลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา นิวเม็กซิโกและยูทาห์ พวกมันถูกนำเสนอชื่อขึ้นในปี 1922 โดยวิลเลียม พาร์คส์ (Wiliam Parks)
จากการค้นพบซากฟอสซิลกะโหลกศีรษะ และโครงกระดูกบางส่วน ที่รัฐแอลเบอร์ตา คาดการณ์ว่าพวกมันมีขนาดอยู่ที่ 8 เมตร มีลักษณะเด่นก็คือหงอนที่อยู่เหนือศีรษะ หงอนนี้ค่อนข้างใหญ่และยาว ใช้ในการสื่อสาร นักบรรพชีวินวิทยาหลายท่านได้นำเสนอว่า หงอนนี้มีไว้สื่อสาร หรือส่งเสียงร้องเพื่อข่มขู่ศัตรู [1]
ไดโนเสาร์กินพืชชนิดนี้ ที่มีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่ มีโครงสร้างกะโหลกศีรษะที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งทำให้สามารถบดเคี้ยวพืชได้ง่าย ฟันของมันถูกแทนที่อยู่ตลอดเวลา พวกมันจะใช้จะงอยปากเพื่อเกี่ยวพืช และขากรรไกรที่ทรงพลัง สามารถกักเก็บพืชจำนวนมากไว้ที่แก้มของมัน และความสูงวัดจากพื้นดินจะอยู่ที่ 4 เมตร
โรเบิร์ต แบ็กเกอร์ เขาได้สังเกตจะงอยปากของไดโนเสาร์ตัวนี้ ซึ่งแคบกว่าฮาโดรโลฟัส หมายความว่า พวกมันและเครือญาติของมัน กินอาหารได้ดีกว่าการหาคู่เสียอีก การอธิบายในปี 2013 ตัวอย่างที่โตเต็มวัยจำนวนมาก และตัวอย่างฟอสซิลที่ยังไม่โต ถูกขุดพบโดยการสำรวจร่วม พวกเขาระบุอายุได้เพียงอายุแค่ 1 ปีเท่านั้น
พวกมันมีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด และยังเป็นไดโนเสาร์ที่อายุน้อยที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ มีความยาวเพียง 2.5 เมตร ซากฟอสซิลไดโนเสาร์ตัวนี้เข้ากับระยะการเจริญเติบโตของ Parasaurolophus ที่รู้จักในยุคปัจจุบัน และมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 75 ล้านปีก่อน ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการขุดพบซากกะโหลกศีรษะที่สมบูรณ์ก็ตาม [2]
ที่มา: In the Media [3]
พาราซอโรโลฟัส (Parasaurolophus) ไดโนเสาร์กินพืชมีหงอนอยู่บนหัว ด้วยรูปลักษณ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อีกทั้งการส่งเสียงร้องออกจากหงอนของมัน ถือเป็นเรื่องที่น่าประหลาดเป็นอย่างมาก ในส่วนนี้ ทางผู้เขียนจะขออธิบายลักษณะทางกายภาพ รวมถึงเหตุผลที่พวกมันสูญพันธุ์ไปจากโลก มีข้อมูลดังต่อไปนี้
ส่วนคำถามที่หลายท่านสงสัยว่า พาราซอโรโลฟัสมันมีเสียงอย่างไร ในช่วงทศวรรษ ปี 1990 นักวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักว่าพวกมัน สามารถส่งเสียงออกมาหากมันพ่นลมผ่านยอดหงอนของมัน ผลที่ได้ก็คือเสียงคำรามที่ทุ้มลึก อาจใช้เตือนเมื่อพวกมันรู้สึกถึงอันตรายที่ใกล้เข้ามา [4]
และนี่ก็คือข้อมูล ที่เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของไดโนเสาร์ชนิดนี้ รวมถึงสาเหตุที่ทำให้Parasaurolophus สูญพันธุ์ไปจากโลกในยุคปัจจุบัน หากท่านใดที่มีข้อสงสัย หรือต้องการดูบทความรีวิวไดโนเสาร์ประเภทกินพืชเป็นอาหาร สามารถคลิกเข้าไปดูบทความแนะนำจากทางผู้เขียนได้ที่ ไดโนเสาร์กินพืช
จากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับไดโนเสาร์ชนิดนี้ ที่มีการค้นพบในอดีต โดยรวมแล้วถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตยุคดึกดำบรรพ์ที่น่าสนใจ นอกจากจะมีลักษณะทางกายภาพที่โดดเด่นแล้ว หงอนที่งอกอยู่เหนือศีรษะของมัน ยังทำให้นักวิทยาศาสตร์ สามารถคิดค้นวิธีการส่งเสียงคำรามของมันออกมา และมีความใกล้เคียงมากที่สุด
[1] วิกิพีเดีย. (November 20, 2024). พาราซอโรโลฟัส. Retrieved from th.wikipedia
[2] WIKIPEDIA. (November 21, 2024). Paleobiology. Retrieved from en.wikipedia
[3] DINOPEDIA. (2024). In the Media. Retrieved from dinopedia.fandom
[4] Natural History Museum. (2022). What did Parasaurolophus sound like?. Retrieved from nhm