line-pg168

พาไปรู้จัก ซูโคมิมัส ไดโนเสาร์เทอโรพอด หากินใกล้แหล่งน้ำ

ธันวาคม 3, 2024
ซูโคมิมัส

ซูโคมิมัส ไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอด ถูกจัดอยู่ในตระกูล Spinosauridae ซึ่งอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ พวกมันถือกำเนิดและดำรงชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น เมื่อประมาณ 125 ล้านปีก่อน แหล่งกำเนิดในปัจจุบันก็คือประเทศแอฟริกาเหนือ มีลักษณะโดดเด่นทางร่างกาย เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักไดโนเสาร์ชนิดนี้

ซูโคมิมัส ไดโนเสาร์ปากยาว ประวัติการค้นพบซากฟอสซิลครั้งแรก

ซูโคมิมัส (Suchomimus) ดำรงชีวิตอยู่ในแอฟริกา อียิปต์ และไนเจอร์ มีลักษณะเด่นอยู่ตรงปากที่ยาวและแคบ จะงอยปากประกอบไปด้วยฟันที่แหลมคม มักออกหาอาหารอยู่ใกล้บริเวณแหล่งน้ำ ซึ่งอาหารส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์ประเภทปลา และสัตว์น้ำในยุคดึกดำบรรพ์ มันมีคู่แข่งตามธรรมชาติในยุคเดียวกัน นั่นก็คือจระเข้ยักษ์ [1]

ประวัติการค้นพบ ซูโคมิมัส และการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ

ในปี 1997 พอล เซเรโน่ (Paul Sereno) นักบรรพชีวินวิทยาชาวอเมริกัน พร้อมกับทีมงานของเขา ได้ออกสำรวจและค้นพบซากฟอสซิล ที่แสดงให้เห็นถึงโครงกระดูกของไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอดขนาดใหญ่ ในประเทศไนเจอร์ โดยการค้นพบครั้งแรกนั้น จะพบในส่วนของกรงเล็บนิ้วหัวแม่มือขนาดใหญ่

ในวันที่ 4 ธันวาคม 1997 ได้ทำการตั้งชื่อและอธิบายชนิดของสายพันธุ์ไดโนเสาร์ Suchomimus tenerensis ซึ่งแปลว่า “จระเข้เลียนแบบ” โดยมาจากภาษากรีกโบราณ โดยตั้งชื่อตามลักษณะรูปร่างของศีรษะ โฮโลไทป์ของมันถูกพบในชั้นเทกามา ของหินเอลราซ ประกอบไปด้วยโครงกระดูกบางส่วน แต่ไม่พบกะโหลกศีรษะ

จากการค้นพบนั้น จะมีส่วนของซี่โครงคอ 3 ชิ้น กระดูกสันหลัง 14 ชิ้น ซี่โครงหลัง 10 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ 3 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนหาง 12 ชิ้น โครงกระดูกบางส่วนถูกเปิดออกบนพื้นผิวทะเลทราย และได้รับความเสียหายจากการกัดเซาะ และยังมีซากฟอสซิลอีกหลายชิ้น ที่ถูกกำหนดให้เป็นพาราไทป์ [2]

ซูโคมิมัส พฤติกรรมและความเกี่ยวข้องในทางนิเวศวิทยา

จากการศึกษางานวิจัยในปี 2021 ได้มีการประเมินแรงกัดของไดโนเสาร์ชนิดนี้ไว้ที่ 4,037 นิวตัน ส่วนงานวิจัยในปี 2022 ซึ่งดำเนินการโดย นิซาร์ อิบราฮิม (Nizar Ibrahim) ได้ระบุสายพันธุ์สปิโนซอรัสเทอโรพอดชนิดนี้ มีลักษณะที่สันนิษฐานได้ว่า พวกมันเหมาะสำหรับการดำรงชีวิตบนบก มากกว่าการดำรงชีวิตอยู่ในน้ำ

จากข้อมูลที่ถูกตีพิมพ์อย่างเป็นทางการในปี 2023 ไดโนเสาร์ตระกูล Spinosauridae โดยเฉพาะตัวอย่างของไดโนเสาร์ชนิดนี้ และเป็นตัวแทนของกลุ่ม Baryonychinae ที่แสดงให้เห็นถึงกายวิภาคของสมอง และโครงสร้างโพรงกะโหลกศีรษะ ไม่มีความแตกต่างที่สามารถระบุได้ หรือการเบี่ยงเบนจากกลุ่มเทอโรพอดทั่วไป

นักศึกษาปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยเซอแทมป์ตัน คริส บาร์เกอร์ เขาเป็นผู้เขียนหลักของการศึกษาในครั้งนี้ ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับผลการศึกษา ถึงแม้ว่าระบบนิเวศวิทยาของพวกมันจะผิดปกติ แต่ดูเหมือนว่าสมองและประสาทสัมผัสของตระกูลสไปโนซอรัสยุคแรกๆ ยังคงมีลักษณะหลายอย่างที่เหมือนกับเทอโรพอด [3]

ซูโคมิมัส พาไปดูลักษณะทางกายภาพ และพฤติกรรมการดำรงชีวิต

ซูโคมิมัส

หลังจากที่คุณได้ดูรายละเอียดเกี่ยวกับ ซูโคมิมัส (Suchomimus) ไดโนเสาร์ชอบกินปลา ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานการค้นพบซากฟอสซิลครั้งแรก และการศึกษาในด้านนิเวศวิทยา ในส่วนถัดไป ทางเราจะพาทุกท่าน ไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ และพฤติกรรมการดำรงชีวิตของพวกมัน โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

รีวิว ลักษณะทางกายภาพของเจ้าปากยาวกินปลา

  • ความยาวและน้ำหนัก : พวกมันเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดกลาง ซึ่งมีความยาวประมาณ 10-11 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 2-5 ตัน
  • กะโหลกศีรษะ : จะมีโครงสร้างกะโหลกยาวเรียวและแคบ ซึ่งคล้ายกับจระเข้ ฟันของมันเรียงกันแน่น เหมาะสำหรับจับปลา ฟันมีลักษณะโค้งเล็กน้อย และไม่มีขอบหยัก ส่วนขากรรไกรของมันจะยื่นยาว มีรอยเว้าบริเวณปลายขากรรไกร ซึ่งเป็นบริเวณที่ฟันหนาแน่นมากที่สุด
  • คอและกระดูกสันหลัง : ลักษณะคอของมันค่อนข้างยาวและแข็งแรง ส่วนกระดูกสันหลังมีโครงสร้างกระดูกหนาว ที่จะยื่นสูงออกมาจากหลัง ซึ่งอาจรองรับสันเนื้อ หรือเป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่
  • แขนและกรงเล็บ : แขนของพวกมันมีลักษณะยาวและแข็งแรง มากกว่าไดโนเสาร์เทอโรพอดโดยทั่วไป กรงเล็บของมันมีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะกรงเล็บที่นิ้วหัวแม่มือ ซึ่งอาจใช้สำหรับการจับหรือกรีดเนื้อของเหยื่อ
  • ลำตัวและหาง : ลำตัวของมันค่อนข้างเพรียวและปราดเปรียว แต่ยังคงมีกล้ามเนื้อที่เหมาะสำหรับการออกล่าเหยื่อ ส่วนหางจะยาวและแบนด้านข้าง เหมาะสำหรับว่ายน้ำ

พฤติกรรมการดำรงชีวิตของไดโนเสาร์ ซูโคมิมัส

  • พฤติกรรมการหาอาหาร : มันเป็นสายพันธุ์นักล่า ที่มีพฤติกรรมกึ่งเฉพาะทาง โดยการจับปลา ซึ่งจะใช้ขากรรไกรที่ยาวเรียว และฟันแหลมคม ในการจับเหยื่อที่ลื่น เช่น ปลาขนาดใหญ่
  • พฤติกรรมใกล้แหล่งน้ำ : การว่ายน้ำของมัน จะใช้หางยาวและแบนออกด้านข้าง แม้พวกมันจะไม่ได้เป็นนักว่ายน้ำที่คล่องแคล่ว เทียบเท่ากับไดโนเสาร์ สไปโนซอรัส แต่ก็พอมีความสามารถในการดำรงชีวิตใกล้แหล่งน้ำ อีกทั้งยังมักเดินอยู่ตามริมฝั่งน้ำ
  • พฤติกรรมการเคลื่อนไหว : ส่วนใหญ่พวกมันมักจะเดินด้วยเท้า 2 ขา แต่ก็สามารถใช้ 4 ขาได้ในบางกรณี เช่น การพักผ่อน
  • พฤติกรรมการป้องกันตัวและการต่อสู้ : กรงเล็บน่าจะเป็นอาวุธหลักในการป้องกันตัวจากนักล่า มีความเป็นไปได้ว่าพวกมัน อาจมีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง เพื่อป้องกันตัวเองจากนักล่า และช่วยเหลือกันในการหาอาหาร
  • พฤติกรรมการปรับตัวตามฤดูกาล : ในฤดูแล้งหรือเมื่อแหล่งน้ำแห้ง อาจจำเป็นจะต้องเดินทางไกลเพื่อหาแหล่งน้ำ มีโอกาสที่มันอาจกินสัตว์ขนาดเล็กหรือซากสัตว์ ในช่วงที่ปลาหายาก
  • พฤติกรรมการสืบพันธุ์ : คาดว่าพวกมันน่าจะวางไข่บนบก ภายในรังที่สร้างขึ้นจากดินหรือพืชพรรณ แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนในการดูแลลูก แต่พวกมันอาจมีพฤติกรรมดูแลลูกอ่อนในช่วงแรก

สรุป ซูโคมิมัส

โดยรวมแล้ว พวกมันถือว่าเป็นสายพันธุ์ไดโนเสาร์ ที่สามารถปรับตัวอย่างดี สำหรับการดำรงชีวิตในระบบนิเวศใกล้แหล่งน้ำ โดยมีพฤติกรรมการล่า และการหาอาหาร ที่จะเน้นการล่าปลาหรือสัตว์น้ำเป็นหลัก อีกทั้งยังมีพฤติกรรมการอยู่รวมกันเป็นฝูง เพื่อสร้างความปลอดภัย ในสภาพแวดล้อมที่มีความท้าทาย

อ้างอิง

[1] วิกิพีเดีย. (October 6, 2022). ซูโคไมมัส. Retrieved from th.wikipedia

[2] WIKIPEDIA. (November 25, 2024). Discovery and naming. Retrieved from en.wikipedia

[3] DINOPEDIA. (2024). Ecology and Behavior. Retrieved from dinopedia.fandom

อุปสรรคขวากหนามในชีวิตจริงย่อมมีหนทางเอาชนะ มีเพียงสิ่งที่อยู่ในจินตนาการเท่านั้นที่ไม่อาจเอาชนะได้
PG168-HOMEหน้าหลักPG168-Promotionโปรโมชั่นpg168PG168-Registerสมัครสมาชิกpg168-Eventกิจกรรม
PGSLOT
หวย
บาคาร่า
กีฬา
โปรโมชั่น
สมาชิกใหม่รับโบนัส
แตกแจกเพิ่ม
ฝากแรกของวัน
กงล้อลุ้นโชค
ขาประจำ
ติดต่อเราLINE
pg168LINE ID : @vippg168PG168-line
PG168-bank
Copyright © 2023 Supported by PG168
pg168LINE ID : @vippg168
PGSLOT
หวย
บาคาร่า
กีฬา
PG168-linePG168-bankCopyright © 2023 Supported by PG168