ซัลตาซอรัส มารู้จักไดโนเสาร์กินพืช คอยาว จากกลุ่มซอโรพอด ซึ่งมีลักษณะเด่นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะตรงแผ่นหลังของมัน ที่มีกระดูกยื่นออกมา เปรียบเสมือนเป็นเกราะป้องกันตัวจากนักล่า หากท่านใดยังไม่รู้จัก เราจะพาไปดูรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ไปจนถึงอธิบายลักษณะกายวิภาคของพวกมัน มีข้อมูลดังต่อไปนี้
ซัลตาซอรัส (Saltasaurus) ไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอดขนาดเล็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับไดโนเสาร์ ไททันโนซอรัส ที่ยังมีชีวิตรอดอยู่จนถึงยุคครีเทเชียส เมื่อประมาณ 75 ล้านปีก่อน ปัจจุบันคือแถบอเมริกาใต้ และยังเป็นสายพันธุ์ที่มีรูปร่างเล็ก ซึ่งมีความยาวเพียง 12 เมตร มีน้ำหนักร่างกายประมาณ 7 ตัน
พวกมันมีช่วงคอกับส่วนหางที่สั้น เมื่อเทียบกับไดโนเสาร์กลุ่มเดียวกัน และมีช่วงขาที่สั้น แต่จุดเด่นของพวกมัน ก็คือเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอดชนิดแรก ที่พบว่ามีกระดูกเป็นตุ่มเล็กๆ ผุดขึ้นออกมาจากผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณแผ่นหลัง ทำหน้าที่คล้ายเกราะป้องกันตัวจากนักล่า ซึ่งเรียกว่าไดโนเสาร์หุ้มเกราะ [1]
ข้อเท็จจริงสำหรับไดโนเสาร์ Saltasaurus
ที่มา: Quick facts about Saltasaurus [2]
สำหรับฟอสซิลของไดโนเสาร์ตัวนี้ ถูกขุดพบโดย โฮเซ โบนาปาร์ตมาร์ติน วินซ์ และจวน ซี ลีล ในระหว่างปี 1975-1977 ที่แอสตันเซีย การค้นพบซากฟอสซิลในครั้งนี้ ถูกรายงานในเอกสารทางวิทยาศาสตร์ ในปี 1977 พวกมันได้รับการตั้งชื่อและบรรยายโดย โบนาปาร์ตและไฮเม อี พาวเวลล์ ในปี 1980
ซึ่งชื่อสามัญของไดโนเสาร์กินพืชตัวนี้ มาจากจังหวัดซัลตา โดยเป็นภูมิภาคทางตะวันตกเฉียงเหนือของอาร์เจนตินา สำหรับความหมายของชื่อ แปลว่า “การปกป้องด้วยแผ่นหลัง” โดยมาจากภาษาละติน ถูกพบในชั้นหินของเลโช คาดว่ามีอายุตั้งแต่ช่วงต้นยุคมาสทริชเชียน ของยุคครีเทเชียสตอนบน ประมาณ 70 ล้านปี
การค้นพบฟอสซิลในครั้งนี้ ประกอบไปด้วยกระดูกเชิงกราน ที่เชื่อมต่อกับกระดูกอีเลีย 2 ชิ้น และยังพบฟอสซิลเพิ่มเติมอีกกว่า 200 ชิ้น ซึ่งรวมถึงชิ้นส่วนกะโหลกศีรษะด้านหลัง ฟัน กระดูกสันหลังส่วนคอ หลัง สะโพกและหาง โดยโครงสร้างฟอสซิลเหล่านี้ คาดว่าเป็นของไดโนเสาร์วัยผู้ใหญ่ 5 ตัว และวัยเด็ก 3 ตัว [3]
สำหรับไดโนเสาร์คอยาว Saltasaurus เป็นซอโรพอดที่มีรูปร่างคล้ายกับ ไททันโนซอรัส ซึ่งมีการพบรอยเท้าที่คล้ายคลึงกัน แต่แตกต่างจากรอยเท้าของซอโรพอดสองชนิด ได้แก่ พาราบรอนโตพอดัส และ บรอนโตซอรัส รอยเท้าเหล่านี้ ถูกพบใกล้กับสนามบินโมอับ ซึ่งรู้จักกันในชื่อรอยเท้ามิลล์แคนยอน
สำหรับตัวอย่างที่เกือบสมบูรณ์แบบของไดโนเสาร์กลุ่ม Sauropodoichnus ถูกพบในปี 1980 ในภูมิภาคซัลตา ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส ปัจจุบันของประเทศอาร์เจนตินา พวกมันเป็นตัวแทนของไดโนเสาร์ไททันโนซอร์ เป็นกลุ่มไดโนเสาร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่มีการดำรงชีวิตอยู่บนโลก [4]
หลังจากที่คุณได้ดูรายละเอียดเกี่ยวกับไดโนเสาร์ ซัลตาซอรัส (Saltasaurus) ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลในส่วนของประวัติการค้นพบซากฟอสซิล รวมถึงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับไดโนเสาร์ซอโรพอด ที่เคยดำรงชีวิตอยู่บนโลก ในส่วนถัดไป เราจะพาไปดูลักษณะกายวิภาค และความเกี่ยวข้องเชิงชีววิทยาโบราณ มีข้อมูลดังนี้
ไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอด ที่กินพืชเป็นอาหารหลัก มีรูปร่างคล้ายถังเบียร์ขนาดใหญ่ และมีรูปร่างคล้ายกับฮิปโปโปเตมัส ทำให้พาวเวลล์เสนอว่า พวกมันเป็นสัตว์กึ่งน้ำ แม้จะมีขนาดเล็ก แต่ก็มีการเคลื่อนไหวคล้ายกับซอโรพอดชนิดอื่นๆ หมายความว่าพวกมันอาจวิ่งไม่ได้ เพราะต้องยกขาหลังในการรองรับน้ำหนัก
พาวเวลล์จึงเกิดข้อสันนิษฐานว่า เมื่อพวกมันยังเป็นเด็ก จะได้รับการปกป้องด้วยเกราะกระดูก ที่ปกคลุมร่างกาย แต่ในขณะที่ซอโรพอดชนิดอื่น จะได้รับการปกป้องจากฝูงทั้งหมด ในช่วงยุคครีเทเชียส ซอโรพอดในแถบอเมริกาเหนือ ไม่ใช่กลุ่มกินพืชที่โดดเด่นเหมือนกับ เอ็ดมอนโทซอรัส และ ไทรเซอราทอปส์
ซัลตาซอรัสเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอดชนิดหนึ่ง ที่ดำรงชีวิตเมื่อประมาณ 70 ล้านปีก่อน เมื่อมีการค้นพบครั้งแรกในปี 1975 นักบรรพชีวินวิทยาต้องพิจารณาสมมติฐานบางประการ ที่มีความเกี่ยวข้องกับซอโรพอดชนิดใหม่ เนื่องจากพวกมันมีกระดูกตามผิวหนัง จึงสันนิษฐานว่าพวกมันเป็นสายพันธุ์ใหม่ของกลุ่ม [5]
โดยรวมแล้ว จากหลักฐานการค้นพบซากฟอสซิล ช่วยให้นักบรรพชีวินวิทยา ได้เข้าใจความเกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการของไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอด โดยเฉพาะเรื่องการป้องกันตัวจากนักล่า และการปรับตัวในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความท้าทาย ในช่วงยุคครีเทเชียส
[1] วิกิพีเดีย. (January 10, 2021). ซัลตาซอรัส. Retrieved from th.wikipedia
[2] The Dinosaur Database. (2025). Quick facts about Saltasaurus. Retrieved from dinosaurpictures
[3] WIKIPEDIA. (December 30, 2024). Discovery. Retrieved from en.wikipedia
[4] MOAB GIANTS. (2017). Titanosaur. Retrieved from moabgiants
[5] DINOPEDIA. (2025). Paleobiology. Retrieved from dinopedia.fandom