ซอโรโพไซดอน พาไปรู้จักไดโนเสาร์กินพืชขนาดยักษ์ ที่หลายท่านอาจคุ้นหน้าคุ้นตามัน ตามสื่อออนไลน์ หรือพบเห็นในสารคดีเกี่ยวกับสัตว์ดึกดำบรรพ์ พวกมันอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียส เมื่อประมาณ 110 ล้านปีก่อน รายละเอียดบทความนี้ เราจะพาไปดูข้อมูลที่สำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับไดโนเสาร์ชนิดนี้
ซอโรโพไซดอน (Sauroposeidon) ไดโนเสาร์กินพืช ซึ่งชื่อของมันมาจากชื่อเทพเจ้ากรีก “เทพเจ้าโพไซดอน” เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์ซอโรพอดขนาดใหญ่ ที่มีการค้นพบในทวีปอเมริกาเหนือ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐโอคลาโฮมา สหรัฐอเมริกา ประมาณ 110 ล้านปีก่อน มีการขุดพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1994
จากการวิเคราะห์ของนักนิเวศวิทยาบรรพกาล พวกเขาได้ระบุว่าไดโนเสาร์ตัวนี้ เคยอาศัยอยู่บนชายฝั่งของอ่าวเม็กซิโก บริเวณปากแม่น้ำ ซึ่งเหมือนกับซอโรพอดชนิดอื่น เช่น แบรคิโอซอรัส หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินพืช คอยาว โดยไดโนเสาร์กลุ่มนี้ มีลักษณะคอที่คล้ายกับสัตว์ในยุคปัจจุบัน เช่น ยีราฟ [1]
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไดโนเสาร์ชนิดนี้
ที่มา: Quick facts about Sauroposeidon [2]
ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ Sauroposeidon ซึ่งมีการค้นพบกระดูกสันหลังส่วนคอ 4 ชิ้น ถูกพบในพื้นที่ชนบทของรัฐโอคลาโฮมา ซึ่งอยู่ใกล้จากชายแดนรัฐเท็กซัส ในชั้นหินดินเหนียว ซึ่งมีการระบุว่าพวกมันมีอายุประมาณ 110 ล้านปีก่อน ซากดึกดำบรรพ์นี้อยู่ในช่วงยุคครีเทเชียสตอนต้น โดยเฉพาะยุคอัปเซียน
ชิ้นส่วนกระดูกเหล่านี้ ถูกพบในปี ค.ศ. 1994 ที่กลุ่มแอนท์เลอร์ส ในเขตอาโทกา รัฐโอคลาโฮมา โดยผู้ที่ขุดพบซากฟอสซิล บ็อบบี้ ครอส เขาเป็นครูฝึกสอนสุนัข ต่อมาได้ส่งให้กับ ดร. ริชาร์ด ซีเฟลลี พร้อมด้วยทีมงานจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ แห่งรัฐโอคลาโฮมา ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นฟอสซิลสัตว์ขนาดใหญ่
ต่อมาในปี 2012 ซากของไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอดชนิดอื่นๆ ที่รู้จักกันมานานหลายทศวรรษ ภายใต้ชื่อต่างๆ ก็ถูกจัดอยู่ในตระกูลซอโรโพไซดอนด้วยเช่นกัน กระดูกและรอยเท้า ถูกพบในบริเวณแม่น้ำพาลักซี ซึ่งมักถูกเรียกว่าเป็นตระกูล Pleurocoelus รวมถึงโครงกระดูกบางส่วน
ไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอด ถือว่าเป็นสัตว์บกขนาดใหญ่ เท่าที่มีการค้นพบ เป็นกลุ่มสัตว์ที่มีขอบเขตกว้างขวาง พวกมันปรากฏตัวครั้งแรกในยุคจูราสสิคตอนต้น และได้แพร่กระจายไปทั่วโลกในช่วงเวลาต่อมา เมื่อถึงยุคจูราสสิคตอนปลาย อเมริกาเหนือและแอฟริกา ก็ได้ปรากฏไดโนเสาร์ตระกูลนี้ ดิพลอโดคัส
และในช่วงเวลาต่อมา ไททันโนซอรัส ก็ได้แพร่กระจายไปทั่วโลกเป็นจำนวนมาก แม้ว่าจะมีการพบซากฟอสซิลเฉพาะซีกโลกใต้เท่านั้น ในยุคครีเทเชียสตอนต้น ยังไม่มีบันทึกฟอสซิลที่เพียงพอ มีเพียงแค่การพบฟอสซิลไม่กี่ตัวอย่าง และตัวอย่างที่ยังคงมีอยู่ส่วนใหญ่ มักจะเป็นชิ้นส่วนของไดโนเสาร์อายุเยาว์วัย
ซอโรพอดส่วนใหญ่ที่ยังมีชีวิตในช่วงเวลานั้น ก็อาจจะมีขนาดที่เล็กลงมาเหลือเพียง 15 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 10-15 ตันเท่านั้น ซึ่งทำให้การค้นพบสัตว์ขนาดใหญ่ ที่มีความพิเศษเฉพาะทาง อย่างเช่นไดโนเสาร์ชนิดนี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่แปลกใหม่มาก [3]
สำหรับไดโนเสาร์กินพืชขนาดยักษ์ ซอโรโพไซดอน (Sauroposeidon) ที่ยังเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง หลังจากการค้นพบซากฟอสซิลของพวกมัน ในทางวัฒนธรรมสมัยนิยม พวกมันก็ได้ปรากฏตัวตามสื่อ, สารคดี หรือภาพยนตร์ อีกทั้งยังได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย มีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้
ที่มา: In the Media [4]
เปิดตัวสองไดโนเสาร์กินพืช สายพันธุ์ Sauroposeidon ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ในพื้นที่สวนนงนุชพัทยา จังหวัดชลบุรี เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ คณะเอกอัครราชทูตจาก 9 ประเทศประจำประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วย ฟินแลนด์ นอร์เวย์ บราซิล ศรีลังกา ตุรกี ฟิลิปปินส์ ซูดาน คาซัคสถาน และอียิปต์
ได้ร่วมงานกับผู้อำนวยการสวนนงนุชพัทยา ร่วมเปิดตัวรูปปั้นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่หน้าประตูสู่แหล่งเรียนรู้ หุบเขาไดโนเสาร์ ดินแดนสัตว์โลกล้านปี ซึ่งสร้างความตื่นเต้นให้แก่คณะผู้ร่วมงาน รวมไปถึงนักท่องเที่ยว ที่ได้เข้ามาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ดึกดำบรรพ์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์โลก
สวนนงนุชพัทยา ได้สร้างไดโนเสาร์ชนิดนี้ขึ้นมา 2 ตัว ซึ่งเป็นปูนปั้นขนาดใหญ่ และลงสีที่มีความวิจิตรศิลป์ ซึ่งมีความสมจริง โดยมีขนาดความสูงถึง 16 เมตร มีความยาว 36 เมตร เฉพาะขนาดของส่วนขา มีขนาดความใหญ่ถึงสองคนโอบ ถือว่าเป็นรูปปั้นไดโนเสาร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยมีมา [5]
โดยรวมแล้ว ไดโนเสาร์ซอโรโพไซดอน เป็นหนึ่งในสัตว์โลกล้านปีที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และยังสร้างความน่าทึ่งให้กับประวัติศาสตร์การค้นพบ ด้วยโครงสร้างที่เหมาะสมกับการกินพืชจากที่สูง และวิวัฒนาการที่โดดเด่น ทำให้มันเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความน่าสนใจ และมีบทบาทสำคัญในด้านการศึกษาซากดึกดำบรรพ์
[1] วิกิพีเดีย. (November 9, 2024). ซอโรโพไซดอน. Retrieved from th.wikipedia
[2] The Dinosaur Database. (2024). Quick facts about Sauroposeidon. Retrieved from dinosaurpictures
[3] WIKIPEDIA. (November 27, 2024). Paleoecology. Retrieved from en.wikipedia
[4] DINOPEDIA. (2024). In the Media. Retrieved from dinopedia.fandom
[5] NONGNOOCH WONDER WORLD. (2024). เปิดตัว 2 ไดโนเสาร์. Retrieved from nongnoochpattaya