แบรคิโอซอรัส หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอดขนาดใหญ่ กินพืชเป็นอาหาร มีจุดเด่นที่ลักษณะคอที่ยาว สามารถกินใบไม้ที่อยู่สูงได้ อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิคตอนปลาย เราจะพาไปผู้อ่านไปทำความรู้จักความเป็นมา การพบฟอสซิล ลักษณะทางกายภาพ และพฤติกรรมการดำรงชีวิตของไดโนเสาร์คอยาวตัวนี้
แบรคิโอซอรัส (Brachiosaurus) สายพันธุ์ซอโรพอดขนาดใหญ่ ที่มีความยาวลำตัว 30 เมตร สูงประมาณ 13-15 เมตร น้ำหนักเทียบเท่ากับช้างแอฟริกา 15 เชือก พวกมันดำรงชีวิตอยู่ในช่วงยุคจูราสสิคตอนปลาย เมื่อประมาณ 200-130 ล้านปีก่อน มีการขุดพบฟอสซิลในแถบอเมริกาเหนือ และแอฟริกา อยู่ในยุคเดียวกับ สเตโกซอรัส
ลักษณะเด่นที่แตกต่างจากซอโรพอดชนิดอื่นๆ บริเวณจมูกจะมีโหนกยื่นออกมา หางสั้นไม่มีปลายแส้ และขาหน้าที่ยาวกว่าขาหลัง จึงทำให้รูปร่างของมันคล้ายกับยีราฟ บริเวณลำคอที่ลายจุด ลำคอมีลักษณะตั้งสูงชัน สามารถช่วยให้พวกมันกินใบไม้บนยอดที่อยู่สูงได้ดีกว่า และมีประโยชน์สำหรับการมองระยะไกล
พวกมันเป็นที่รู้จักจากภาพยนตร์เรื่อง Jurassic Park 1 (1993) แต่ก็ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับท่าทางในภาพยนตร์ ที่นำเสนอว่าพวกมันสามารถยืนสองขา เพื่อยืดตัวกินใบไม้ ขาหลังสั้นและเล็ก สะโพกน้อย นอกจากนี้มันไม่มีท่อนหางยาวสำหรับคานน้ำหนัก จึงไม่เหมาะกับการแบกรับน้ำหนักร่างกาย ในขณะที่พวกมันยืน [1]
สำหรับตัวอย่างโฮโลไทป์ คาดว่าพวกมันมีโครงกระดูกหลังกะโหลกศีรษะ บางส่วนถูกพบในปี 1900 ในหุบเขาแม่น้ำโคโลราโด ซึ่งใกล้กับเมืองฟรูตา รัฐโคโลราโด โดยตัวอย่างนี้ได้รับการประกาศเป็นโฮโลไทป์ ที่มาจากหินของ Brushy Basin Member ดังนั้นจึงมีอายุประมาณ 154-153 ล้านปี หรือในยุคคิมเมอริเจียนตอนปลาย
โครงกระดูกที่พบ จะประกอบไปด้วย กระดูกต้นแขนด้านขวา กระดูกต้นขาด้านขวา กระดูกเชิงกรานด้านขวา กระดูกคอราคอยด์ด้านขวา กระดูกสันหลังส่วนอก และกระดูกสันหลังส่วนหาง Riggs ได้ตีพิมพ์รายงานสั้นๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ค้นพบในปี 1901 และได้ระบุความผิดปกติของความยาวกระดูกต้นแขน เมื่อเทียบกับกระดูกต้นขา
และในการค้นพบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไดโนเสาร์ตัวนี้ ในอเมริกาเหนือ ที่ยังไม่ค่อยพบเห็นบ่อยมากนัก และมีเพียงแค่กระดูกไม่กี่ชิ้น จนมาถึงปัจจุบัน ซากฟอสซิลกระดูกนี้ สามารถระบุได้อย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับโฮโลไทป์ในสกุลเดียวกัน และมีการกล่าวถึงวัสดุที่ไม่มีคำอธิบายจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ อีกหลายแห่ง [2]
ความเชื่อในศตวรรษที่ 19 ไปจนถึงต้นศตวรรษที่ 20 กลุ่มซอโรพอดบางชนิด อย่าง แบรคิโอซอรัส คาดว่าพวกมันมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะรับน้ำหนักของตัวเองได้บนพื้นดิน แต่กลับไปใช้ชีวิตอยู่ใต้น้ำเพียงบางส่วนของร่างกาย มีการยืนยันการสังเกตของ จอห์น เบลล์ แฮตเชอร์ เขาเป็นคนแรกที่ยืนยันความยาวของมันในปี 1904
โดยชี้ให้เห็นว่ากระดูกสันหลังที่เป็นโพรง ไม่มีความคล้ายคลึงกับสัตว์น้ำ และขาที่ยาว กระดูกเท้าที่เล็ก บ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญในการเคลื่อนที่บนพื้นดิน คาดว่าพวกมันอาจมีการปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตบนบก ลำตัวที่เหมาะสำหรับการเดินด้วยสี่ขาบนบกเท่านั้น พวกมันอาจอยู่ในน้ำเพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย
พวกมันอาจเป็นสัตว์กินพืชขนาดใหญ่ ในช่วงที่มันอาศัยอยู่บนโลกเมื่อประมาณ 156-145 ล้านปีก่อน ในยุคจูราสสิค คาดว่าพวกมันการเจริญเติบโต โดยมีความยาวมากกว่า 80 ฟุต และมีน้ำหนักมากกว่า 28 ตัน มีข้อสันนิษฐานว่า พวกมันไม่สามารถวิ่งได้เร็ว ด้วยลักษณะร่างกายที่มีขนาดใหญ่เกินไป [3]
สำหรับข้อมูลในส่วนนี้ ทางผู้เขียนจะพาทุกท่าน ไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ ของเจ้าไดโนเสาร์คอยาว แบรคิโอซอรัส และข้อมูลพฤติกรรมการดำรงชีวิตของพวกมัน ที่ดำรงอยู่ในช่วงปลายยุคจูราสสิค เมื่อประมาณ 156 ล้านปีก่อน ทางเราจะขออธิบายจุดเด่นของมัน โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
ที่มา: Behavior [4]
พวกมันถือว่าเป็นสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินพืช ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ถูกนำไปทำเป็นสัญลักษณ์ไดโนเสาร์ขนาดยักษ์ที่สง่างาม และทรงพลัง แสดงถึงความมหัศจรรย์ของธรรมชาติยุคดึกดำบรรพ์ และถือเป็นตัวอย่างไดโนเสาร์กินพืช ที่วิวัฒนาการให้เหมาะกับการใช้ชีวิตในระบบนิเวศ ที่เน้นการหาอาหารเป็นหลัก
[1] วิกิพีเดีย. (September 4, 2021). แบรคิโอซอรัส. Retrieved from th.wikipedia
[2] WIKIPEDIA. (November 8, 2024). Paleobiology. Retrieved from en.wikipedia
[3] NATIONAL GEOGRAPHIC KiDS. (2024). Huge herbivore. Retrieved from kids.nationalgeographic
[4] Enchanted Learning. (1999-2024). Behavior. Retrieved from enchantedlearning