เทอริสิโนซอรัส ไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอด ตระกูล Therizinosauridae ดำรงชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคครีเชียส พวกมันมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกับไดโนเสาร์ชนิดอื่น ซึ่งอยู่ตรงที่ปลายนิ้ว ที่มีกรงเล็บยาวโค้งคล้ายกับเคียว จนได้ฉายาว่า กิ้งก่ากรงเล็บเคียว ซึ่งเป็นอาวุธป้องกันตัว มาทำความรู้จักไดโนเสาร์ตัวนี้ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
เทอริสิโนซอรัส (Therizinosaurus) ไดโนเสาร์กินพืชชนิดเดียวกับ Therizinosaurus Cheloniformis ฟอสซิลของมันถูกพบครั้งแรกในปี 1948 โดยคณะนักสำรวจชาวมองโกเลีย ถูกพบที่ทะเลทรายโกบี จากนั้นก็ถูกอธิบายโดยนักบรรพชีวินวิทยา เอฟเกนี มาเลเยฟ จนทำให้พวกมันเริ่มเป็นที่รู้จักไดโนเสาร์ตระกูลนี้มากยิ่งขึ้น
ในช่วงเวลาที่มีการค้นพบฟอสซิล มีการพบเจอแค่ส่วนของเล็บที่ยาวกว่า 70 เซนติเมตร ทำให้ในตอนแรกถูกคิดว่าเป็นเพียงแค่เล็บของสัตว์เลื้อยคลาน หรือเต่าขนาดใหญ่ในยุคครีเทเชียสเท่านั้น ก่อนที่จะมีการพบเจอส่วนกระดูกท่อนขาหลัง ถึงแม้ว่ามันจะมีกรงเล็บอันตราย แต่ก็มีไว้ป้องกันตัว อีกทั้งมันกินได้ทั้งพืชและแมลง [1]
นักบรรพชีวินวิทยาอธิบายไว้ว่า ซากฟอสซิลส่วนใหญ่ มีอายุประมาณ 70-68 ล้านปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับภูมิประเทศ ที่อาจเป็นเขตลุ่มแม่น้ำติดกับทะเลทราย จึงทำให้บริเวณนั้นมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และยังมีการขุดพบฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตอีกมากมาย ได้แก่ ทาร์โบซอรัส ไดโนเสาร์ตระกูลเดียวกับ ทีเร็กซ์
ในปี 1948 คณะนักสำรวจบรรพชีวินวิทยา ซึ่งจัดโดยสถาบันวิทยาศาสตร์ของสหภาพโซเวียต ได้ออกสำรวจหินโบราณเนเมกต์ในทะเลทราย ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมองโกเลีย ซึ่งมีจุดประสงค์ในการออกค้นหาซากดึกดำบรรพ์สายพันธุ์ใหม่ คณะสำรวจได้ขุดพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์และเต่า ซึ่งพบชิ้นส่วนจำนวนมาก
แต่สิ่งที่น่าสนใจในการค้นพบ ก็คือซากฟอสซิลกระดูกเล็บ 3 ชิ้น ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ซึ่งถูกพบใกล้กับบริเวณย่อยในแถบเนเมกต์ และยังพบองค์ประกอบส่วนอื่นๆ เช่น กระดูกฝ่ามือ และกระดูกซี่โครงอีกหลายชิ้น นักบรรพชีวินวิทยาได้อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับซากฟอสซิล สำหรับการตั้งตระกูลและชนิดใหม่ของสายพันธุ์
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในปี 2010 ลินด์ซีย์ อี. ซานโน นักบรรพชีวินวิทยาชาวอเมริกาเหนือ ได้ประเมินผลทางอนุกรมวิธานใหม่ของ Therizinosauria โดยมาจากการเก็บรวบรวมไว้ในบริบทของชั้นหินเดียวกันกับโฮโลไทป์ แสดงให้เห็นรูปร่างที่ประกอบไปด้วยนิ้วทั้ง 4 แต่คาดว่า น่าจะเป็นไดโนเสาร์ตระกูลใหม่นั่นเอง [2]
ทีมนักวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่น ร่วมมือกับสหรัฐอเมริกา ได้บรรยายเกี่ยวกับการพบซากดึกดำบรรพ์ครั้งใหม่ ที่เชื่อมโยงไปถึงสายพันธุ์ไดโนเสาร์เทอริสิโนซอรัส ที่ถูกพบบนเกาะฮอกไกโด เมื่อปี 2551 ซึ่งจะเน้นไปที่ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการทำงานของกรงเล็บ ซึ่งเชื่อว่าน่าจะนำไปสู่การจำแนกประเภทของไดโนเสาร์ชนิดนี้
ซึ่งได้มีการตั้งชื่อไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาว่า Paralitherizinosaurus japonicus จากการวิเคราะห์กรงเล็บ รวมทั้งขนาดความยาวและรูปร่างของฐานกรงเล็บ บ่งชี้ให้เห็นพื้นฐานลักษณะทั่วไป และได้อธิบายเกี่ยวกับกรงเล็บที่ยาวของพวกมัน ไม่ได้มีไว้สำหรับฉีกเนื้อ แต่ใช้สำหรับการเกี่ยวดึงพืชขึ้นมามากกว่านั่นเอง
ซากฟอสซิลที่ถูกค้นพบ มีอายุน้อยที่สุดในบรรดาฟอสซิลของสายพันธุ์ที่ถูกค้นพบในเอเชีย จากการค้นพบหลักฐานในครั้งนี้บ่งชี้ว่า พวกมันอาจดำรงชีวิตในแถบเอเชียมาอย่างยาวนาน และมีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างกว่า อีกทั้งยังเป็นหลักฐานสายพันธุ์แรก ที่มาจากตะกอนทะเลในแถบเอเชีย [3]
หลังจากที่ผู้อ่านได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับไดโนเสาร์ เทอริสิโนซอรัส ไม่ว่าจะเป็นการค้นพบครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ครั้งล่าสุดในแถบเอเชีย ในส่วนนี้ ทางผู้เขียนจะพาไปดูรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ และพฤติกรรมการดำรงชีวิตของไดโนเสาร์เล็บยาวตัวนี้
จุดเด่นที่น่าสนใจของไดโนเสาร์ชนิดนี้ พวกมันมีความโดดเด่นในด้านลักษณะ ที่มีการพัฒนาสำหรับการกินพืช แทนที่จะเป็นนักล่าเหมือนสมาชิกที่อยู่กลุ่มเดียวกัน ได้แก่ Tyrannosaurus หรือ Velociraptor นอกจากนี้กรงเล็บที่มีลักษณะยาวโค้ง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พวกมันมีความพิเศษ และเป็นที่น่าประทับใจในโลกของไดโนเสาร์
พวกมันอาศัยอยู่ในแถบหุบเขา สถานที่ที่ไม่มีนักล่าสายพันธุ์อื่นอยู่ใกล้ จากข้อมูลการสังเกตนี้ มีความเป็นไปได้ว่ามันอาจจะถูกไล่ออกจากฝูง เนื่องจากมันมีความอ่อนแอ หรืออาจเป็นไปได้ว่ามันเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่ตัวเดียว พวกมันอาศัยการได้ยินมากกว่าการใช้กรงเล็บ และมักจะระวังทุกการเคลื่อนไหว เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม
ในขณะที่เดินสำรวจอาณาเขต พวกมันได้พบเจอกับสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่เดินผ่าน เพื่อเข้ามาหาอาหารในป่า มันสังเกตเห็นกวางที่กำลังกินอาหาร จึงได้เข้าจู่โจมอย่างรวดเร็ว แต่มันทำเพื่อกินผลเบอร์รี่ ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ถ้าหากมันรู้สึกถึงอันตรายที่เข้ามาใกล้ มันจะทำการเปล่งเสียงออกมา เป็นวิธีการข่มขู่ศัตรู
และยังแสดงถึงความสามารถอันน่าทึ่ง สำหรับพฤติกรรมการป้องกันตัวเองจากไดโนเสาร์นักล่า โดยอาศัยการได้ยินเสียงที่เฉียบแหลม เมื่อพวกมันเผชิญหน้ากับเสียงคำรามอันโด่งดัง ที่มาจากด้านหน้าของมัน ทำให้มันตอบสนองโดยสัญชาตญาณด้วยการฟาดด้วยกรงเล็บแหลมคม สามารถสร้างความเสียหายแก่ศัตรูมากที่สุด [4]
พวกมันดำรงชีวิตในช่วงยุคครีเทเชียสตอนปลาย เมื่อประมาณ 70 ล้านปีก่อน พวกมันถือว่าเป็นสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ มีลักษณะทางกายภาพที่เด่นชัด กรงเล็บยาวและแหลมคม จนทำให้พวกมันได้ฉายากิ้งก่ากรงเล็บเคียว แต่ใช้สำหรับการป้องกันตัวจากนักล่า และใช้สำหรับการเกี่ยวดึงพืชเท่านั้นเอง
[1] วิกิพีเดีย. (November 6, 2024). เทอริสิโนซอรัส. Retrieved from th.wikipedia
[2] WIKIPEDIA. (November 23, 2024). History of discovery. Retrieved from en.wikipedia
[3] ไทยรัฐออนไลน์. (June 14, 2022). ทีมนักวิทยาศาสตร์ศึกษาฟอสซิลเทอริสิโนซอรัสที่พบในญี่ปุ่น. Retrieved from thairath
[4] JURASSIC WIKI. (2024). Behavior. Retrieved from thairath