อิกัวโนดอน สายพันธุ์ไดโนเสาร์กินพืช จากยุคครีเทเชียส จนถึงยุคจูราสสิก เมื่อประมาณ 110 ล้านปีที่ผ่านมา เจ้ากินพืชตัวนี้ยังมีลักษณะที่แตกต่างไปจากไดโนเสาร์สายพันธุ์อื่นๆ เป็นกลุ่มไดโนเสาร์กลุ่มแรกที่ถูกขุดพบ และได้รับการศึกษาจากมนุษย์มากที่สุด มาทำความรู้จักข้อมูลจากการค้นพบซากฟอสซิล จนถึงการดำรงชีวิตของมัน
ข้อมูล อิกัวโนดอน หลักฐานการค้นพบฟอสซิลที่สมบูรณ์แบบ
อิกัวโนดอน (Iguanodon) เป็นสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินพืช ที่มีขาใหญ่และแข็งแรง จากหลักฐานซากฟอสซิล คาดว่าพวกมันดำรงชีวิตในช่วงปลายยุคจูราสสิก ไปจนถึงต้นยุคครีเทเชียส เมื่อประมาณ 135-110 ล้านปีก่อน ค้นพบในพื้นที่กว้างของทวีปยุโรป ไปจนถึงตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออก
เจ้าไดโนเสาร์กินพืชตัวนี้ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างใหญ่ และกระจัดกระจายเป็นบริเวณกว้าง เมื่อเทียบกับสิ่งมีชีวิตตระกูลเดียวกัน แพทย์และนักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ กิเดียน แมนเทล ได้ค้นพบฟอสซิลเมื่อปี พ.ศ. 2365 และพวกมันนับเป็นไดโนเสาร์ชนิดแรกๆ ที่มีการขุดพบ และมีการตั้งชื่อ ที่คล้องกับฟันของพวกมัน [1]
พวกมันเป็นไดโนเสาร์ออร์นิโทพอด ที่อยู่ประมาณกึ่งกลาง hypsilophodontids สองตัว ที่สามารถเคลื่อนไหวได้เร็วตัวแรกของกลางยุคจูราสสิก และเป็นไดโนเสาร์ปากเป็ด ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส พวกมันเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ มีหนามตรงนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งอาจใช้สำหรับการป้องกันตัวจากไดโนเสาร์กินเนื้อ [2]
ข่าวสาร การค้นพบฟอสซิลของ อิกัวโนดอน ที่มีสภาพสมบูรณ์
คณะนักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ เมืองปาเยี่ยนน่าวเอ่อร์ เขตปกครองตนเองมองโกเลีย ทางตอนเหนือของประเทศจีน ได้มีการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์กินพืช ที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์แบบ มีอายุประมาณ 125 ล้านปี ในพื้นที่อำเภออูลาเท่อโฮ่ว สถานที่ที่ถูกขนานนามว่า เป็นบ้านเกิดไดโนเสาร์
เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ นายไท้ รุ่ยหมิง ระบุผลการศึกษาเบื้องต้น เกี่ยวกับการสันนิษฐานกระดูกฟอสซิลดังกล่าว เป็นของไดโนเสาร์ Iguanodon ไดโนเสาร์กินพืชชนิดหนึ่ง จากยุคครีเทเชียสตอนต้น ปัจจุบันทีมนักวิจัย กำลังทำความสะอาดและเสริมความแข็งแกร่งของโครงกระดูก ใช้มาตรการคุ้มครองตามจำนวนฟอสซิลที่พบเช่นกัน [3]
ข้อมูล การจำแนกประเภท และการวิวัฒนาการของ อิกัวโนดอน
กลุ่ม Iguanodontia เป็นกลุ่มออร์นิโทพอดที่มีจำนวนมาก และแบ่งออกได้หลายสายพันธุ์ เป็นที่รู้จักในช่วงยุคจูราสสิกตอนกลาง ไปจนถึงยุคครีเทเชียสตอนปลาย นอกจากนี้ยังมีสมาชิกที่เกี่ยวข้องในกลุ่ม Dryosaurus, Camptosaurus, Ouranosaurus และ duck-bills โดยมีลำดับสมาชิกหรือตระกูลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- แรบโดดอนทิดี : เป็นตระกูลของไดโนเสาร์กินพืช ซึ่งมีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียส เมื่อประมาณ 70-100 ล้านปี มีลักษณะคล้ายกับกลุ่มไดโนเสาร์หางแบน
- เทนอนโตซอรัส : ไดโนเสาร์ในกลุ่ม Ornithopoda ที่มีชีวิตในยุคครีเทเชียสตอนกลาง เมื่อประมาณ 112-108 ล้านปีที่มาผ่านมา
- ดรายโอซอริดี : กลุ่มไดโนเสาร์กินพืช ที่ดำรงชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคจูราสสิก ราวๆ 160-145 ล้านปีที่แล้ว
- แคมโทซอรัส : ตระกูลไดโนเสาร์กินพืชออร์นิโทพอด ที่มีชีวิตในช่วงยุคจูราสสิกตอนปลาย ประมาณ 155-145 ล้านปีที่ผ่านมา มีการพบซากฟอสซิลในทวีปอเมริกาเหนือ ในรัฐไวโอมิงและยูทาห์
- ยูทีโอดอน : เป็นกลุ่มของไดโนเสาร์กินเนื้อ ที่มีความเกี่ยวข้องกับไดโนเสาร์สายพันธุ์คล้ายนก โดยพวกมันเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มแรปเตอร์ ถูกค้นพบในพื้นที่ของรัฐยูทาห์ ในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 1991
- ฮิปโปดราโก : ตระกูลไดโนเสาร์ที่ดำรงชีวิตอยู่ในช่วงยุคจูราสสิกตอนกลาง เมื่อประมาณ 165 ล้านปีที่ผ่านมา อาศัยในพื้นที่ของทวีปยุโรป
- อิกัวนาโคลอสซัส : เป็นกลุ่มไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ ในยุคครีเทเชียส-ยุคจูราสสิก มีลักษณะคล้ายกิ้งก่าชนิดหนึ่ง และเป็นกลุ่มไดโนเสาร์ที่ถูกพบในยุคแรกๆ และเป็นบรรพบุรุษไดโนเสาร์กินพืชประเภทหางแบน
- ลานโจวซอรัส : กลุ่มไดโนเสาร์ตระกูลออร์นิโทพอด ที่มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น เมื่อประมาณ 100 ล้านปีที่แล้ว ฟอสซิลของมันถูกค้นพบในพื้นที่ของเมืองลานโจว ในประเทศจีน
- ฮาโดรซอรอยเดีย : กลุ่มของไดโนเสาร์ประเภทหางแบน ดำรงชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย พวกมันเป็นกลุ่มไดโนเสาร์ที่มีการปรับตัว และวิวัฒนาการให้มีลักษณะเฉพาะ เช่น กะโหลกแบนเหมือนกับหัวของเป็ด
- แมนเทลลิซอรัส : กลุ่มไดโนเสาร์ตระกูลออร์นิโทพอด ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคจูราสสิก ประมาณ 125 ล้านปีที่ผ่านมา ซากฟอสซิลถูกค้นพบในสหราชอาณาจักร และเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์ ที่มีการศีกษามากที่สุด ในช่วงต้นของการพบไดโนเสาร์
ที่มา: Classification and evolution [4]
อิกัวโนดอน อธิบายลักษณะทางกายภาพ และการดำรงชีวิต
หลังจากที่ผู้อ่าน ได้ทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับไดโนเสาร์กินพืช อิกัวโนดอน (Iguanodon) การค้นพบซากฟอสวิลครั้งแรก ไปจนถึงการจำแนกประเภทของกลุ่มสายพันธุ์ไดโนเสาร์ที่เกี่ยวข้อง สำหรับข้อมูลในส่วนถัดไป ทางผู้เขียนจะพาทุกท่าน ไปดูลักษณะทางกายภาพ และพฤติกรรมการดำรงชีวิต มีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้
รีวิว ลักษณะทางกายภาพของไดโนเสาร์กินพืช ขาใหญ่
- ขนาดและรูปร่าง : พวกมันมีความยาวประมาณ 10-13 เมตร ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และช่วงอายุ มีน้ำหนักประมาณ 3-4 ตัน รูปร่างมีลักษณะยาวและเพรียว โครงสร้างของร่างกายที่เหมาะสำหรับเคลื่อนที่ทั้ง 2 ขา และ 4 ขา คล้ายกับไดโนเสาร์สามเขา ไทรเซอราทอปส์
- หัว : ขนาดหัวของพวกมันค่อนข้างใหญ่ เมื่อเทียบกับร่างกาย มีรูปร่างคล้ายรูปสามเหลี่ยม ฟันของพวกมันค่อนข้างแหลม และมีลักษณะเรียงเป็นแถว ใช้สำหรับบดเคี้ยวพืช จมูกที่ค่อนข้างใหญ่ ซึ่งจะตั้งอยู่กับส่วนหน้าของหัว
- ขา : ลักษณะขาหลังที่มีความแข็งแรง และมีขนาดใหญ่ สามารถรองรับน้ำหนักของร่างกาย และใช้ในการเดินด้วยสองขา เมื่อมันต้องเคลื่อนไหวรวดเร็ว ขาหน้าไม่ยาวเท่าขาหลัง นิ้วมือที่ยาวและแบน โดยเฉพาะนิ้วที่สองและนิ้วที่สาม ซึ่งคาดว่าอาจช่วยในการเคลื่อนไหว หรือจับดึงพืช
- หาง : หางของมันค่อนข้างยาวและแข็งแรง ทำหน้าที่ในการทรงตัวในขณะเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเดินด้วยสองขาหรือเดินด้วยสี่ขา
- ผิวหนัง : เกล็ดผิวมีลักษณะเป็นเกล็ด ซึ่งคล้ายกับสัตว์เลื้อยคลานในปัจจุบัน สีผิวยังไม่มีการยืนยันข้อมูลที่แน่ชัด แต่คาดว่าสีผิวมีความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เช่น สีเขียวหรือสีน้ำตาล
ข้อมูล พฤติกรรมการดำรงชีวิตของอิกัวโนดอน
- การเคลื่อนไหว : พวกมันเป็นไดโนเสาร์กินพืช ที่สามารถเดินได้ทั้งสองขาและสี่ขา
- การกินอาหาร : พวกมันกินพืชเป็นส่วนใหญ่ ส่วนมากจะเป็นพืชที่อยู่ใกล้พื้นดิน เช่น เฟิร์น ใบไม้ และหญ้า พวกมันจะใช้ฟันที่ค่อนข้างแหลมและแข็งแรง เหมาะแก่การบดเคี้ยวพืชที่เหนียวหรือแข็ง
- การใช้ชีวิตเป็นฝูง : หลักฐานการค้นพบฟอสซิล บ่งชี้ว่าพวกมันมีพฤติกรรมการอยู่รวมกันเป็นฝูง ซึ่งช่วยให้พวกมันปลอดภัยจากนักล่า และสามารถหากินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการอยู่รวมกันเป็นฝูง จะช่วยให้พวกมันรู้สึกถึงอันตราย สามารถหนีได้อย่างรวดเร็ว
- การสื่อสาร : ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน แต่คาดว่าพวกมันจะสื่อสารด้วยการร้อง หรือการกระตุกขา
- การขยายพันธุ์ : พวกมันอาจใช้วิธีการขยายพันธุ์ ที่คล้ายกับไดโนเสาร์กินพืชชนิดอื่นๆ โดยจะเป็นการวางไข่ในพื้นที่ปลอดภัย เมื่อลูกๆ ของมันฟักออกมา พวกมันจะปล่อยให้ลูกออกหากินเอง แต่จะต้องอยู่ในการดูแลของฝูง
สรุป อิกัวโนดอน
การปรากฏตัวของไดโนเสาร์กินพืชตัวนี้ เป็นช่วงเวลาที่ยาวนานในประวัติศาสตร์ของโลก พวกมันมีบทบาททางระบบนิเวศ ในช่วงยุคครีเทเชียส และยุคจูราสสิกตอนปลาย จากหลักฐานการค้นพบฟอสซิล พบว่าพวกมันมีการกระจายตัวไปทั่วโลก และมีพฤติกรรมการปรับตัว ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อ้างอิง
[1] วิกิพีเดีย. (December 12, 2021). อิกัวโนดอน. Retrieved from th.wikipedia
[2] PATH OF TITANS. (2024). Paleo Info. Retrieved from path-of-titans.fandom
[3] Khaosod Online. (May 20, 2022). พบฟอสซิล “อิกัวโนดอน” สภาพสมบูรณ์-อายุเก่าแก่. Retrieved from khaosod
[4] WIKIPEDIA. (November 2, 2024). Classification and evolution. Retrieved from en.wikipedia