มาพูซอรัส ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ในตระกูลคาร์โนซอร์ ซึ่งเป็นกลุ่มไดโนเสาร์นักล่าเดียวกับ จิกาโนโตซอรัส และคาร์ชาโรดอนโตซอรัส พวกมันดำรงชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย เมื่อประมาณ 97 ล้านปีก่อน เราจะพาผู้อ่านไปดูข้อมูลที่เกี่ยวข้อง หลักฐานการค้นพบ รวมถึงรายละเอียดลักษณะทางกายภาพ ดังนี้
มาพูซอรัส (Mapusaurus) หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์ล่าเนื้อ ซึ่งถูกจัดอยู่ในตระกูลคาร์โนซอร์ (Carnosaurian) ที่มีขนาดใหญ่ พวกมันดำรงชีวิตอยู่ในช่วงต้นยุคครีเทเชียส ซึ่งในปัจจุบันคือประเทศอาร์เจนตินา เช่นเดียวกับไดโนเสาร์ อาร์เจนติโนซอรัส พวกมันมีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์เครือญาติของมัน อย่างเช่น ไจกาโนโทซอรัส
ตัวอย่างหลักฐานการค้นพบฟอสซิลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวอยู่ที่ 30 ฟุต ซึ่งแตกต่างจากการวิจัย ที่มีการคาดเดาว่าพวกมันมีขนาดความยาวได้ถึง 40 ฟุต และมีน้ำหนัก 8 ตัน ลักษณะรูปร่างผอมเพรียว และมีความว่องไว สำหรับชื่อของมันนั้น มาจากภาษากรีก ซึ่งแปลว่า “กิ้งก่าผืนดิน” นั่นเอง
มีการขุดพบซากฟอสซิลครั้งแรกในปี 1995 ที่ปาตาโกเนีย ประเทศอาร์เจนตินา ในชั้นตะกอนที่ถูกทับถมเมื่อ 100 ล้านปีก่อน มีการพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ทั้งหมด 7-9 สปีชีส์ หนึ่งในนั้นคือไดโนเสาร์ Mapusaurus เป็นไดโนเสาร์สปีชีส์ใหม่ ที่มีลักษณะคล้ายกับไจกาโนโทซอรัส และไทรันโนซอรัส แต่มีขนาดยาวกว่า
มีการพบโครงกระดูกหลายชิ้น ได้แก่ กะโหลก ฟัน และกระดูกแข้ง ที่มีความยาวที่สุด ในบรรดาไดโนเสาร์กินเนื้อทั้งหมด โดยการค้นพบในครั้งนี้ สอดคล้องกันในการค้นพบที่ประเทศแคนาดา มองโกเลีย และอเมริกา พบว่าไดโนเสาร์กินเนื้อเหล่านี้ ได้เปลี่ยนวิธีการล่าเหยื่อเพียงลำพัง กลายเป็นการล่าแบบฝูงแทน
เนื่องจากการค้นพบซากฟอสซิล ที่กระจายอยู่หลายตัว และพวกมันยังดำรงชีวิตในช่วงเวลาเดียวกัน กับไดโนเสาร์กินพืชที่ใหญ่ที่สุด อาร์เจนติโนซอรัส พวกมันจึงได้พัฒนาวิธีการออกล่าเป็นกลุ่ม เพื่อจัดการไดโนเสาร์กินพืชที่มีขนาดใหญ่กว่านั่นเอง พวกมันจัดการเหยื่อด้วยฟันลักษณะพิเศษ ซึ่งคล้ายกับใบเลื่อยแหลมคม [1]
ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ถูกค้นพบในชั้นตะกอน ที่เต็มไปด้วยซากสัตว์ ที่อยู่ในระยะการเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน คาดเดาว่านี่อาจเป็นการสะสมซากสัตว์ในระยะยาว และอาจให้เบาะแสเกี่ยวกับพฤติกรรมของพวกมัน มีกระดูกของไดโนเสาร์ที่ถูกพบ ได้แก่ Dromaeosaurids, Deinonychus และ Utahraptor
โรดอลโฟ โคเรีย นักบรรพชีวินวิทยา ได้ให้ข้อมูลตรงข้ามกับบทความที่ถูกตีพิมพ์ โดยกล่าวว่ากลุ่มกระดูกฟอสซิลเหล่านี้ อาจบ่งชี้ว่าพวกมันและ Giganotosaurus มีพฤติกรรมล่าเหยื่อเป็นกลุ่ม หรือร่วมมือกันล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่า นี่อาจเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญชิ้นแรก ที่มนุษย์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการอยู่รวมกันเป็นฝูง
ทางผู้ให้ข้อมูลสภาพแวดล้อมการสะสมของ Huincul Formation พบว่าเป็นตะกอนน้ำจืดโบราณ ที่ก่อตัวขึ้นโดยลำธารชั่วคราว หรือก่อตัวขึ้นตามฤดูกาลในภูมิภาค ที่มีสภาพอากาศแห้งแล้ง การศึกษาออนโทเจเนติกส์ พบว่าพวกมันมีลักษณะเฮเทอโรโครนี ซึ่งเป็นสภาวะวิวัฒนาการ และอาจเป็นบรรพบุรุษของสัตว์บางช่วงชีวิต [2]
สำหรับเจ้าไดโนเสาร์นักล่า มาพูซอรัส (Mapusaurus) กลุ่มเทอโรพอดขนาดใหญ่ ที่ดำรงชีวิตอยู่ในช่วงต้นยุคครีเทเชียส พวกมันถือว่าเป็นนักล่าที่มีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก ในส่วนเนื้อหาถัดไป ทางเราจะพาทุกท่านไปดู รายละเอียดลักษณะทางกายภาพ และพฤติกรรมการดำรงชีวิตของพวกมัน มีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
ลักษณะพิเศษของมัน จะอยู่ตรงส่วนของไหปลาร้าส่วนบน ซึ่งจะแยกออกมา 2 แฉก รูไมโลไฮออยด์ด้านหน้า จะมีขนาดเล็กอยู่เหนือส่วนที่สัมผัสกับม้าม กระดูกฝ่ามือชิ้นที่สอง จะเชื่อมติดกับชิ้นที่สาม โพรงสั้นของกระดูกเชิงกราน ทอดยาวลึกเข้าไปในโพรงที่เจาะจากด้านหลัง และคอที่มีลักษณะโค้งงอเล็กน้อย [3]
และนี่ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับไดโนเสาร์นักล่าขนาดใหญ่ มาพูซอรัส แห่งยุคครีเทเชียส สำหรับพฤติกรรมการดำรงชีวิตของพวกมัน ชี้ให้เห็นถึงการปรับตัวอย่างน่าทึ่ง อีกทั้งมันยังมีพละกำลังทางกายภาพ และพฤติกรรมทางสังคม ที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่า ทำให้พวกมันอยู่รอดในระบบนิเวศที่เต็มไปด้วยความท้าทาย
[1] วิกิพีเดีย. (November 10, 2024). การค้นพบ. Retrieved from th.wikipedia
[2] WIKIPEDIA. (November 20, 2024). Paleobiology. Retrieved from en.wikipedia
[3] DINOPEDIA. (2024). Specimens a fossils. Retrieved from dinopedia.fandom